Content idea : Series ถอดรหัสกับ Hashpire

1 Like

EP 12: แวะเล่าเรื่อง: Caesar cipher


การเข้ารหัสแบบ Caesar cipher เกิดขึ้นในช่วง 50-70 ปีก่อนคริสตกาล คิดค้นโดยกษัตริย์ Julius Caesar แห่งโรมัน เพื่อใช้เข้ารหัสข้อความในสารที่ส่งในระหว่างการทำศึกสงครามเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูสามารถอ่านข้อความในสารนั้นได้หากสารนั้นถูกแย่งชิงไป

การเข้ารหัสเเบบซีซาร์ตัวอักษรจะถูกแทนที่ด้วยตัวอักษรตัวที่ 3 นับจากตัวมัน เช่น A จะเเทนด้วย D , B จะเเทนด้วย E , C จะเเทนด้วย F , X จะเเทนด้วย A , Y จะเเทนด้วย B และ Z จะเเทนด้วย C เป็นต้น เช่น HASHPIRE เข้ารหัสเป็น KDVKSLUH

References

EP 13: Alberti cipher
Alberti cipher คือ การเข้ารหัสแบบ Substitution ciphers (การเข้ารหัสโดยการแทนที่ตัวอักษร) ที่คิดค้นขึ้นในปี 1467 โดย Leon Battista Alberti สถาปนิกชาวอิตาลี เป็นการใช้ตัวอักษรผสมในการเข้ารหัส ซึ่งตัวอักษรพิมพ์ใหญ่จะใช้ในการเข้ารหัส เเละตัวอักษรพิมพ์เล็กใช้ในการบอกจุดเริ่มต้นและจุดเปลี่ยนของการเข้ารหัส อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้ารหัสที่เรียกว่า Alberti’s cipher disk ดังรูปที่ 1

Alberti's cipher disk-1 image

Alberti’s cipher disk เป็นเเผ่นวงกลมที่จะประกอบไปด้วย เเผ่น 2 แผ่นซ้อนกัน โดยที่เเผ่นด้านนอกที่ใหญ่กว่า เรียกว่า “Stabilis” จะไม่สามารถหมุนได้ ประกอบด้วย ABCDEFGILMNOPQRSTVXZ1234 ส่วนแผ่นด้านในจะเล็กกว่า เรียกว่า “Mobilis” จะสามารถหมุนได้ ประกอบด้วย gklnprtuz&xysomqihfdbace


ขั้นตอนการเข้ารหัสแบบ Alberti cipher

  1. กำหนดข้อความที่ต้องการจะเข้ารหัส คือ VENETIAN CRVPTOGRAPFIES (CRVPTOGRAPFIES มีการปรับมาจาก CRYPTOGRAPHIES เพื่อให้ตรงกับตัวอักษรที่มีในวงแหวนรอบนอก)

  2. หากข้อความมีช่องว่างสามารถ ใส่ค่า Null แบบสุ่ม ลงไปในช่องว่างระหว่างตัวอักษรได้

  3. กำหนดตัวอักษรเริ่มต้นของวงแหวนด้านในเป็น m และวงแหวนรอบนอกเป็น T สำหรับข้อความแรก และสำหรับข้อความหลังเป็น F จะได้ mVENETIAN mCRVPTOGRAPFIES

  4. หมุนตัวอักษร T วงแหวนด้านนอกให้ตรงกับ m ตัวอักษรเริ่มต้นที่กำหนด ดังรูปที่ 2
    Alberti cipher-2

  5. T จะกลายเป็นอักษรตัวแรกของข้อความเข้ารหัสของเรา เพื่อแสดงให้เห็นว่า เวลาถอดรหัสต้องเริ่มต้นจากที่ใด

  6. เทียบข้อความที่ต้องการเข้ารหัส โดย เทียบกับวงแหวนด้านนอกแล้วเขียนรหัสจากวงแหวนด้านใน ข้อความคือ VENETIAN จะได้ Tblzlmrcz

  7. จากนั้นที่ข้อความหลัง จุดเริ่มต้นเป็น m หมุนตัวอักษร F ให้ตรงกับ m ดังนั้น F จะเป็นตัวขึ้นต้นข้อความหลัง ดังรูปที่ 3
    Alberti cipher-3

  8. เทียบข้อความเข้ารหัส ข้อความคือ CRVPTOGRAPFIES จะได้ Fyelakbqe&amiog

  9. ดังนั้นข้อความ mVENETIAN mCRVPTOGRAPFIES จะเข้ารหัสได้เป็น TblzlmrczFyelakbqe&amiog


ขั้นตอนการถอดรหัสแบบ Alberti cipher

  1. ตั้งค่า Alberti’s cipher disk ให้ตรงกับตอนเข้ารหัส โดยจะเราต้องทราบตัวอักษรเริ่มต้นของวงแหวนด้านในที่กำหนดมาจากตอนเข้ารหัส คือ m

  2. ให้ดูจุดเริ่มต้นคำจากตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่ ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนของแผ่นดิสก์ ที่เราต้องทำการหมุนให้ตรงกับตัวอักษรเริ่มต้นที่วงแหวนด้านใน จากรหัสที่เราได้มา TblzlmrczFyelakbqe&amiog ข้อความแรกจะขึ้นต้น ด้วย F ให้เราทำการหมุน m ให้ตรงกับ T ดังรูปที่ 4 และ ข้อความหลังจะขึ้นต้นด้วย F ให้เราทำการหมุน m ให้ตรงกับ ดังรูปที่ 5
    Alberti cipher-4 Alberti cipher-5

  3. เมื่อหมุนวงเวียนได้ตามข้อที่ 2 แล้ว ให้ทำการเทียบกับตัวอักษรในวงเเหวนด้านใน จากนั้นดูตัวอักษรที่วงแหวนรอบนอกที่ตรงกัน จากข้อความแรกคือ Tblzlmrcz จะถอดรหัสได้เป็น VENETIAN และข้อความหลังคือ Fyelakbqe&amiog จะถอดรหัสได้เป็น CRVPTOGRAPFIES รวมเป็น VENETIAN CRVPTOGRAPFIES

สามารถไปลองเล่น Alberti’s cipher disk กันได้ที่ Venetian Cryptography :: Alberti Cipher Disk (tonyo.info)

รหัสลับจาก Hashpire ในวันนี้คือ XXX XXX XXX

References
https://vcrypto.tonyo.info/venetian_crypto/website/index.php/alberti

EP 14: Grille transposition cipher
Grille transposition คือ การเข้ารหัสแบบ Transposition cipher (การเข้ารหัสโดยการย้ายตำแหน่งของของตัวอักษร) ซึ่งเป็นการเจาะรูบนกระดาษ ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส จากนั้นนำกระดาษที่เจาะเป็นรูไปวางซ้อนบนกระดาษอีกแผ่นหนึ่ง เเล้วเขียนข้อความธรรมดาผ่านรูบนกระดาษเเผ่นบน หมุนเเผ่นกระดาษวนไปเรื่อยๆ จนเขียนข้อความครบ เมื่อนำกระดาษเเผ่นบนออกเราจะได้รหัสลับออกมา


ขั้นตอนการเข้ารหัสเเบบ Grille transposition

  1. ออกแบบกระดาษเจาะรูที่จะใช้ในการเข้ารหัส ทำเป็นตารางสี่เหลี่ยมจตุรัส คำนวณจากจำนวนตัวอักษร เช่นข้อความ มี 36 ตัวอักษร หารด้วย 6 ก็จะได้เป็นตารางเเบบ 6 คอลัมน์ 6 เเถว

  2. ออกแบบการเจาะรูบนกระดาษได้ตามต้องการ เเต่ในการวางกระดาษเจาะรูลงไปในหนึ่งครั้งควรที่จะเห็นตัวอักษรครบทุกแถว เช่นดังรูปที่ 1 เจาะรูบนกระดาษจำนวน 9 รู

  3. กำหนดข้อความที่ต้องการเข้ารหัส คือ AN ATTACK AT MORNING ALL UNITS ARE PREPARED

  4. นำกระดาษที่เจาะรูมาวางซ้อนบนกระดาษอีกชั้น จากนั้นเขียนข้อความลงไปผ่านรูบนกระดาษจนครบทุกรูในหนึ่งครั้ง แล้วหมุนกระดาษ 90 องศา เขียนตัวอักษรต่อเเล้วหมุนอีกครั้งไปเรื่อย ๆ จนเขียนตัวอักษรครบ ก็จะได้แผ่นกระดาษที่มีรหัสเขียนไว้ ดังรูปที่ 1


ขั้นตอนการถอดรหัสแบบ Grille transposition

  1. ในการถอดรหัสเราจะต้องทราบรูปแบบของกระดาษที่เจาะรู และทิศทางการหมุนกระดาษว่าเริ่มหมุนจากทางด้านซ้ายหรือขวาก่อน

  2. นำกระดาษที่เจาะรูมาวางซ้อนลงบนกระดาษที่มีรหัสลับ

  3. อ่านข้อความที่ปรากฏผ่านรูบนกระดาษในแต่ละรอบและหมุนไปเรื่อย ๆ จนครบ

รหัสลับจาก Hashpire ในวันนี้คือ XXX XXX XXX

References

EP 15: แวะเล่าเรื่อง: Enigma machine เบื้องหลังความได้เปรียบของกองทัพนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

Enigma machine-3

Enigma machine ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกเมื่อปี ปี 1918 โดยวิศวกรไฟฟ้าชาวเยอรมัน ที่มีชื่อว่า Arthur Scherbius
โดยจุดประสงค์ในการสร้างเครื่อง Enigma ขึ้นมา คือเพื่อใช้เก็บรักษาความลับทั่วๆ ไป แต่มันก็ไม่ประสบความสำเร็จในการขายมากนัก

จนกระทั่งปี 1923 กองทัพนาซีเยอรมนี ได้มีการนำเครื่อง Enigma ไปใช้ในทางการทหาร โดยใช้ในกองทัพเรือและกองทัพอากาศเยอรมันเป็นหลัก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปี 1939-1945 กองทัพนาซีเยอรมนี ได้มีการพัฒนาเครื่อง Enigma โดยการ เพิ่ม Rotor 3 ตัว เป็น 5 ตัว ( Rotor ชุดฟันเฟื่องหมุน ประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ 26 ตัว การหมุนแต่ละ Rotor จะไม่เท่ากัน ทำให้การสุ่มตัวอักษรแทนที่ไม่ซ้ำเดิม) และเพิ่มการสุ่มใช้ Rotor ไม่ให้เรียงต่อกัน ซึ่งทำให้กองทัพนาซีเยอรมนีมีความมั่นใจเป็นอย่างมากว่าไม่มีวันที่ ฝ่ายสัมพันธมิตร จะแก้รหัสเครื่อง Enigma นี้ได้
image

เครื่อง Enigma ถือได้ว่ามีความปลอดภัยเป็นอย่างมากจนสามารถใช้เพื่อเข้ารหัสข้อความลับสุดยอดได้ เพราะความน่าจะเป็นที่จะเดาออกได้มีเพียงหนึ่งใน 158.962 ล้านรูปแบบ

Enigma machine-4

หลักการทำงานของเครื่อง Enigma ใช้รูปแบบการเข้ารหัสแบบ Substitution ciphers คือการเลือกตัวอักษรเเทนที่หลาย ๆ ครั้งด้วยระบบไฟฟ้าผ่านกลไกของจานหมุน เมื่อเราพิมพ์ข้อความธรรมดาลงไป เครื่องจะเลือกตัวอักษรเเทนที่มาให้เราทำการจดรหัสเอาไว้ โดยรูปแบบของตัวอักษรจะไม่ซ้ำกัน แม้ว่าจะกดตัวอักษรตัวเดิม รูปแบบที่ออกมาจึงคาดเดาได้ยาก

การนำเครื่อง Enigma ไปใช้งานในกองทัพของเยอรมนี คือจะมีการส่งรหัสที่ได้จากเครื่อง Enigma ผ่านคลื่นวิทยุในรูปแบบของรหัสมอร์ส ไปให้กับบุคคลที่เราต้องการจะสื่อสารด้วย ซึ่งทั้งทั้งฝั่งผู้รับและผู้ส่งจะต้องมีเครื่อง Enigma ที่มีการตั้งค่าเหมือนกันทุกประการ จึงจะสามารถถอดรหัสได้

References

EP 16: Playfair cipher
Playfair cipher คือ การเข้ารหัสเเบบ Substitution ciphers (การเข้ารหัสโดยการแทนที่ตัวอักษร) ซึ่งเป็นการเเทนที่ข้อความธรรมดาเป็นคู่ตัวอักษรแบบไม่คงที่ ที่ใช้งานได้จริง คิดค้นโดย Sir CHarles Wheatstone ในปี 1854


ขั้นตอนการเข้ารหัสแบบ Playfair cipher

  1. กำหนดคีย์ที่จะใช้ในการเข้ารหัส คือ KEYWORD

  2. นำคีย์ใส่ตารางขนาด 5 x 5 เเล้วใส่ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ไม่ซ้ำกับคีย์จนครบ (ยกเว้น J หากเจอในข้อความธรรมดาให้ใช้ตัว I แทน) ดังรูปที่ 1
    Playfair cipher-1

  3. กำหนดข้อความธรรมดาที่ต้องการจะเข้ารหัส คือ IM FINE จากนั้นนำมาจับเป็นคู่ ได้เป็น IM FI NE (หากไม่ครบคู่หรือมีตัวอักษรเหมือนกันอยู่ติดกันให้คั่นด้วยให้ใส่ Q หรือ X)

  4. เลือกเอา ตัวอักษรที่อยู่ในตารางที่สร้างขึ้นมาแทนตัวอักษรของข้อความธรรมดา ดูตัวอักษรภายในตาราง โดยให้มองเป็นสี่เหลี่ยมแล้วเลือกเอา ตัวอักษรที่อยู่มุมสี่เหลี่ยมสองตัว ดังรูปที่ 2

  5. จากในรูปที่ 1 ตารางที่ 2 จะพบว่าหากตัวอักษรอยู่ในบรรทัดเดียวกันให้เลือกตัวอักษรที่อยู่ทางขวาของตัวอักษรนั้น ๆ ที่อยู่ห่างจากตัวมันมากที่สด

  6. จะเข้ารหัสได้เป็น FQ HL GU


ขั้นตอนการถอดรหัสแบบ Playfair cipher

  1. เราจะต้องทราบคีย์ที่จะใช้ในการเข้ารหัส จากในตัวอย่างการเข้ารหัส คือคำว่า KEYWORD

  2. นำคีย์ใส่ตารางขนาด 5 x 5 เเล้วใส่ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ไม่ซ้ำกับคีย์จนครบ (ยกเว้น J หากเจอในข้อความธรรมดาให้ใช้ตัว I แทน)

  3. นำรหัส FQ HL GU ไปเทียบกับตาราง โดยให้มองเป็นสี่เหลี่ยมแล้วเลือกเอาตัวอักษรที่อยู่มุมสี่เหลี่ยมสองตัว ดังรูปที่ 3

  4. จากในรูปที่ 3 ตารางที่ 2 จะพบว่าหากตัวอักษรอยู่ในบรรทัดเดียวกันให้เลือกตัวอักษรที่อยู่ทางซ้ายของตัวอักษรนั้น ๆ ที่อยู่ห่างจากตัวมันมากที่สด

  5. จากรูปที่ 3 ถอดรหัสได้เป็นคำว่า IM FINE

รหัสลับจาก Hashpire ในวันนี้คือ XXX XXX XXX

References
http://blog.bru.ac.th/wp-content/uploads/2020/09/flayfair.pdf

EP 17: Pigpen cipher

Pigpen cipher เป็นการเข้ารหัสอย่างง่ายเเบบ 1 ต่อ 1 คล้ายกับ Simple substitution cipher (การเเทนที่ตัวอักษรเดี่ยวอย่างง่าย) แต่จะใช้สัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นจากเส้นและจุดโดยเขียนเส้นรอบรูปของตัวอักษรนั้น ๆ จากตารางในรูปที่ 1 ที่กำหนดมาในการเเทนที่ตัวอักษรแบบตายตัว ไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบ

การเข้าและถอดรหัสแบบ Pigpen cipher ทำได้ง่ายเนื่องจากมีสัญลักษณ์ที่เขียนง่ายและตายตัว ทุกคนสามารถจำได้ มำให้ไม่มีความปลอดภัยที่จะใช้ในการเข้ารหัสลับจริง ๆ


ขั้นตอนการเข้ารหัสแบบ Pigpen cipher

  1. กำหนดข้อความที่ต้องการเข้ารหัส คือ I LOVE YOU จากนั้นนำไปเทียบกับสัญลักษณ์ในตาราง
  2. จะได้ข้อรหัส เป็น ดังรูปที่ 2
    Pigpen cipher-2

ขั้นตอนการถอดรหัสแบบ Pigpen cipher
การถอดรหัสของ Pigpen cipher ทำได้ง่าย เพียงแค่นำเอารหัสที่ได้เทียบกับตารางรหัสก็จะสามารถถอดรหัสได้

รหัสลับจาก Hashpire ในวันนี้คือ XXX XXX XXX

References

EP 18: แวะเล่าเรื่อง: The bombe เครื่องถอดรหัสที่ช่วยชีวิตผู้คนมากมาย ในสงครามโลกครั้งที่ 2

ย้อนกลับไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีหลายชนชาติที่พยายามคิดค้นวิธีการในการแกะรอยข้อความของกองทัพนาซีเยอรมนีที่ใช้การเข้ารหัสจาก Enigma machine แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่ง Alan Mathison Turing ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ และนักรหัสวิทยา ชาวอังกฤษ ได้สร้าง เครื่องจักรที่มีชื่อว่า The bombe หรือ British bombe ขึ้นมา

The bombe เป็นเครื่องจักรถอดรหัส ที่ใช้หลักการจำลองรูปแบบการตั้งค่าของ Enigma machine และตัดรูปแบบที่เป็นไปไม่ได้ทิ้ง ถูกสร้างขึ้นในปี 1939 โดย Alan Mathison Turing ซึ่งพัฒนาจากอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า bomba ที่ได้รับการออกแบบ โดย Marian Rejewski ณ.ประเทศโปแลนด์ และเคยเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการถอดรหัสของเครื่อง Enigma มาก่อน

The bombe รุ่นแรกมีชื่อว่า “Victory” ได้รับการติดตั้งในเดือนมีนาคม ปี 1940 ซึ่งนอกจาก Alan Mathison Turing ที่เป็นผู้คิดค้น แล้ว ยังมี Gordon Welchman เป็นผู้ปรับแต่งการทำงาน และ Harold Keen เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างทางวิศวกรรมอีกด้วย

เครื่องถอดรหัส The bombe ที่สามารถถอดรหัสของกองทัพนาซีเยอรมนีได้นั้น ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้สงครามโลกยุติได้เร็วขึ้น และสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้กว่า 14-21 ล้านคน

จากผลงานเครื่องถอดรหัสอย่าง The bombe กับผลงานวิชาการด้านคอมพิวเตอร์อื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้ Alan Mathison Turing ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) และชื่อของเขายังได้ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อรางวัลที่มีเกียร์ติสูงสุงของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือเปรียบเสมืองรางวัลโนเบลในวงการคอมพิวเตอร์ ที่ชื่อ Turing Award

References

EP 19:Vigenère cipher

Vigenère cipher หรือ รหัสลับ Vigenere คิดค้นโดย Giovan Battista Bellaso แต่ตั้งชื่อตาม Blaise de Vigenere นักการทูตชาวฝรั่งเศส ที่เป็นคนพัฒนาให้รหัสลับนี้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย

Vigenère cipher เป็นการเข้ารหัสเเบบ Substitution ciphers (การเข้ารหัสโดยการแทนที่ตัวอักษร) ที่ใช้พื้นฐานมาจากการเข้ารหัสเเบบ Caesar cipher และการเเทนที่ตัวอักษรแบบ Polyalphabetic substitution cipher (การเเทนที่ตัวอักษรหนึ่งตัวด้วยตัวอักษรหรือสัญลักษณ์หลายตัว) ร่วมกับการใช้ ตาราง Vigenère หรือที่เรียกว่า tabula recta (ตารางตัวอักษรภาษาอังกฤษแบบ 26 x 26 ตัวอักษร)


ขั้นตอนการเข้ารหัสแบบ Vigenère cipher

  1. กำหนดข้อความที่ต้องการเข้ารหัส คือ ATTACK AT DAWN

  2. กำหนดคีย์ที่ใช้ในการเข้ารหัส คือ LEMON

  3. นำคีย์ที่กำหนดมาเขียนให้ความยาวเท่ากับข้อความที่ต้องการเข้ารหัส ดังรูปที่ 1
    Vigenère Cipher

  4. นำคีย์และข้อความเข้ารหัสที่ตรงกันไปหาจุดตัดบนตาราง โดยการหาจุดตัดของตัวคีย์ (แกนเเนวนอนของตาราง) และข้อความธรรมดา (แกนเเนวตั้งของตาราง) ให้ครบทุกตัว ดังรูปที่ 2

  5. จะเข้ารหัสได้เป็น ดังรูปที่ 3
    Vigenère Cipher-3


ขั้นตอนการถอดรหัสแบบ Vigenère cipher

  1. เราจะต้องทราบคีย์ที่ใช้ในการเข้ารหัส ในตัวอย่าง คือ LEMON

  2. นำคีย์มาเขียนให้ความเท่ากับรหัสที่ได้มา ดังรูปที่ 4
    Vigenère Cipher-4

  3. นำตัวอักษรในคีย์ (แกนเเนวนอนของตาราง) เทียบกับรหัส LXFOPV EF RNHR แล้วตัวอักษรในแกนแนวตั้งจะเป็นตัวอักษรของข้อความที่ถอดได้ ดังรูปที่ 5

  4. เมื่อทำตามขั้นตอนในข้อที่ 3 จนครบจะถอดรหัสได้เป็นข้อความดังรูปที่ 6
    Vigenère Cipher-6

รหัสลับจาก Hashpire ในวันนี้คือ XXX XXX XXX

References

http://pws.npru.ac.th/signal/data/files/Chapter7_Cryptography.pdf

EP 20: เฉลยรหัสทั้งหมดที่เราเข้ารหัสทิ้งไว้ในแต่ละสัปดาห์ เกริ่นนำเกี่ยวกับ Modern Cryptography

วิทยาการเข้ารหัสลับ

อย่างการเข้ารหัสในช่วงยุคแรกเริ่ม

ช่วง 100 ถึง 44 ปี อันนี้ งงๆ ครับ

ซึ่งเราจะเรียกการเข้ารหัสในยุคแรกเริ่มนี้ว่า “Classical Cryptography”

การเข้ารหัสลับสมัยใหม่ที่เรียกว่า “Modern Cryptography”

1 Like

ในยุคแรกเริ่ม

1 Like

กลุ่มละ

กำหนดข้อความที่ต้องการเข้ารหัส เป็น WE ARE DISCOVERED FLEE AT ONCE ( จำนวนทั้งหมด 25 ตัวอักษร )

เราจะต้องทราบรหัสลับและคีย์ที่ใช้ในการเข้ารหัส // อาจจะบอกว่าประมาณว่าในเคสนี้คือ คีย์ = จำนวนแถว

ทำการสร้างตารางขึ้นมา โดยให้คีย์เป็นตัวกำหนดจำนวนแถว และจำนวนตัวอักษรในรหัสลับเป็นตัวกำหนดจำนวนคอลัมน์ ( 25 คอลัมน์ )

1 Like

ส่วนตัวผมตอนแรก งง ข้อนี้เป็นอย่างมากครับ ไม่เข้าใจว่าที่บอกให้เอาคำว่า ZEBRAS ไปใส่ข้างหน้าแถวแล้วเอาอักษรเดิมออกคืออะไร แล้วทำไมตัวอักษรหลัง ZEBRAS ถึงเริ่มที่ CDFGH

จึงให้ปันช่วยไล่ดูแล้วพบว่าแถวที่เป็น Cipher Text Alphabet เมื่อเอาคำว่า ZEBRAS มาใส่ข้างหน้าแถวแล้วตัวอักษรที่เหลือมันไม่เรียงกัน (มันจะเรียงกันเฉพาะอักษรที่ไม่มีอยู่ในคีย์ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมตัวอักษรหลัง ZEBRAS ถึงเริ่มที่ CDFGH <— ตัว E หายไป เพราะว่า E มีอยู่ในคำว่า ZEBRAS อยู่ก่อนแล้วจึงข้ามไป)

ข้อนี้ผมอยากให้อธิบายเพิ่มมากๆครับ เพราะส่วนตัวผมเอง งง และหาคำตอบนานมาก T_T

1 Like

ส่วนตัวปันคิดว่า ทุกครั้งที่มีการบอกว่า การเข้ารหัสนี้เป็นแบบ … transposition / substitution ควรจะมี (อธิบายว่าแบบนี้คืออะไร) เพื่อขยายความให้ผู้อ่านค่ะ

เช่น Rail fence cipher (zigzag cipher) คือ การเข้ารหัสแบบ Transposition cipher (การเข้ารหัสโดยการย้ายตำแหน่งของของตัวอักษร) แบบนี้เป็นต้นค่ะ

1 Like

เหมือนว่า DA จะเกินมานะคะ ปันลองทำตามขั้นตอนดูแล้วคิดว่าสองตัวนี้น่าจะเกินมาค่ะ หรือหากไม่ได้เกิน รบกวนพี่น้ำตาลอธิบายเพิ่มถึงการเข้ารหัสด้วยค่า

1 Like

ควรอธิบายก่อนว่า Cryptography คืออะไร
Cryptography is the practice and study of techniques for secure communication between two parties in the public environment where unauthorized users and malicious attackers are present.

More generally, cryptography is about constructing and analyzing protocols that prevent third parties or the public from reading private messages;[3] various aspects of information security such as data confidentiality, data integrity, authentication, and non-repudiation[4] are central to modern cryptography.

Cryptography prior to the modern age was effectively synonymous with encryption, converting information from a readable state to unintelligible nonsense.

สมัยก่อนพูดถึง Cryptography คือ encryption แต่สมัยนี้ไม่ใช่ กว้างกว่านั้น มีพวก data integrity, non repudiation etc ด้วย

เกิดขึ้นในยุค Caesar? ไม่น่าใช่นะ

References

ตัวหน้าหา episode ได้ order จากเก่าไปใหม่ หรือ order มั่วๆ ?

ควรจะอธิบายถึงทำไมถึงต้องมาเรียนรู้ cryptography
มันสำคัญยังไง
อาจจะพูดถึง bitcoin หรือ blockchain คนจะได้สนใจมากขึ้น กราฟฟิกมี bitcoin blockchain , cryptographic application ต่างๆ ดูน่าสนใจกว่า คิดว่าไม่ควรเจาะจงที่ encryption

มีพูดถึงคีย์ แต่ไม่เคยมีอธิบายว่าคีย์คืออะไร

อาจจะเพิ่ม post แนว glossary / definition