EP 1: ชวนคนมารู้จักการเข้ารหัสแบบ Classical Cryptography

EP 1: ชวนคนมารู้จักการเข้ารหัสแบบ Classical Cryptography


จาก EP ที่แล้ว (Link) เราได้เล่าถึงความเป็นมาเป็นไปของ ศาสตร์ที่มีชื่อว่า “Cryptography” กันไปแล้ว มาใน EP นี้ เราจะพาทุกคนย้อนเวลากลับไปในอดีต เพื่อไปล้วงความลับ ว่าคนในยุคก่อนเขาใช้ศาสตร์ Cryptography ในการสร้างความปลอดภัยในการสื่อสารกันอย่างไรบ้าง ?

ถ้าหากเราย้อนกลับไปในอดีตตั้งแต่สมัยยุคกรีก โรมัน ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) จนไปถึงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้ศาสตร์ Cryptography ในยุคนั้น จะถูกเรียกว่า “Classical Cryptography”

Classical Cryptography หรือ “ศาสตร์การเข้ารหัสในยุคคลาสสิก” เป็นการนำเอาข้อความธรรมดา (Plain text) ไปผ่านกระบวนการเข้ารหัส (Encryption) เพื่อให้ได้ ข้อความลับ (Cipher text) ที่บุคคลอื่นไม่สามารถเข้าใจได้
โดยจะมีเพียงแค่คู่สนทนาเท่านั้นที่จะเข้าใจรูปแบบที่ใช้ในการถอดรหัส (Decryption) หรือแปลง “Cipher text” กลับไปเป็น “Plain text” ได้ แน่นอนว่าการเข้ารหัสในยุคคลาสสิกนั้น ยังไม่มีเทคโนโลยีต่าง ๆ เกิดขึ้นมา ดังนั้นการเข้ารหัสส่วนใหญ่จะสามารถคำนวณและแก้ไขได้ด้วยมือ ร่วมกับการใช้อุปกรณ์หรือสิ่งของ เช่น แผ่นหนัง กระบอกไม้ และเครื่องจักรกลไฟฟ้า เป็นต้น

สำหรับศาสตร์การเข้ารหัสในยุค Classical Cryptography นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก คือ

  1. การเข้ารหัสแบบ Transposition Cipher ซึ่งเป็นการเข้ารหัสโดยการ “สลับตำแหน่งของตัวอักษร” เช่น HELLO เป็น OLLEH ซึ่งเป็นพื้นฐานการเข้ารหัสแบบ Columnar และยังเป็นพื้นฐานการเข้ารหัสของอุปกรณ์อย่าง Scytale อีกด้วย (ติดตามคอนเทนต์เกี่ยวกับ Scytale ได้ในตอนถัดไป)

  2. การเข้ารหัสแบบ Substitution Ciphers ซึ่งเป็นการเข้ารหัสด้วยวิธีการ “แทนที่ตัวอักษร” เช่นแทนที่ A ด้วย C, B ด้วย A และ C ด้วย T เมื่อนำ ABC มาเข้ารหัสแบบ Substitution Ciphers จะได้เป็น CAT ซึ่งเป็นพื้นฐานการเข้ารหัสแบบ Caesar Cipher เป็นต้น

EP นี้เราได้พาทุกคนไปรู้จักกับศาสตร์การเข้ารหัสในยุคคลาสสิก (Classical Cryptography) แล้ว ใน EP ต่อ ๆ ไปเราจะพาทุกคนไปสวมบทบาทเป็นคนในยุคก่อน พร้อมทดลองเข้ารหัสและถอดรหัสด้วยวิธีต่าง ๆ มากมาย แถมยังมีเกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสมาเล่าให้ฟังอีกด้วย

References