Planning
Outline-text
ชื่อหัวข้อที่จะนำเสนอ
- EP 6 : Incentive (แรงจูงใจ, รางวัล)
โครงสร้างของเนื้อหา
- หัวข้อที่ 1 : เกริ่นนำ จากหัวข้อทั้งหมดที่กล่าวมา ใน EP 6 : Incentive (แรงจูงใจ, รางวัล) น่าจะเป็นหัวข้อที่หลายคนให้ความสนใจมากที่สุด ว่าอะไรเป็นแรงจูงใจที่ทำให้คนต้องสนใจ Bitcoin และอะไรคือ รางวัลตอบแทนที่เราจะได้จากมันนั่นเอง
- หัวข้อที่ 2 : ทำไมผู้คนถึงสนใจเข้าร่วมใน bitcoin network
- หัวข้อที่ 3 : ถ้าเหรียญถูกขุดออกมาจนครบ 21 ล้านแล้ว รางวัลที่เหลืออยู่คืออะไร
- หัวข้อที่ 4 : เพราะอะไร Attacker ที่มีกำลัง Cpu มากกว่า Node อื่น ๆ จะไม่โกงในระบบ
- หัวข้อที่ 5 : ถ้าเราทำธุรกรรมมากมาย แล้วพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของ Bitcoin มันจะไม่เต็มหรือ หากอยากทราบว่า Bitcoin เขามีวิธีในการจัดเก็บข้อมูลอย่างไร ติดตามต่อใน EP 7 : Reclaiming Disk Space - Experimental / Content Board - Hashpire Community
ประเด็นสำคัญของบทความ
- Incentive (แรงจูงใจ, รางวัล) คืออะไร
สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับจากบทความ
- เข้าใจ Incentive (แรงจูงใจ, รางวัล) ของ Bitcoin
- รู้ว่าหลังจากเหรียญหมดจะเกิดอะไรขึ้น
- เพราะอะไร Attacker ถึงจะไม่โกงระบบ ทำให้ระบบมีความปลอดภัยจากการโกง
Outline-graphic
รูปแบบของกราฟฟิค + โครงสร้าง
คำถามที่รบกวนให้ Reviewer ช่วยตอบค่ะ
1. ต้องการรู้ประเด็นไหนเพิ่มเติมไหม เพราะอะไร
2. คิดว่าเรียงลำดับการนำเสนอได้ดีรึยัง ถ้าไม่ดี มีไอเดียอย่างไร
3. มีประเด็นไหนควรตัดทิ้งไหม เพราะอะไร
Content text + graphic
Node : ผู้ที่มีส่วนร่วมในเครือข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย Blockchain
Block : สิ่งที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
Attacker : ผู้โจมตีระบบ
Proof-of-Work : สามารถกลับไปอ่านได้ใน EP 4 : Proof-of-Work
จาก EP ต่าง ๆ ที่ผ่านมา หัวข้อนี้น่าจะเป็นหัวข้อที่หลายคนให้ความสนใจมากที่สุด เพราะมันจะอธิบายว่าอะไรเป็นแรงจูงใจที่ทำให้คนต้องหันมาทำธุรกรรมบน Bitcoin
ทำไมผู้คนถึงสนใจเข้าร่วม Bitcoin Network
แน่นอนว่าสิ่งที่ทำให้ผู้คนหันมาสนใจ Bitcoin คงหนีไม่พ้น รางวัลที่เราจะได้รับจากการทำธุรกรรมหรือการทำ Proof-of-Work ซึ่งใน Bitcoin ได้ระบุไว้ดังนี้
-
ธุรกรรมแรกใน Block จะเป็น “ธุรกรรมพิเศษ” ซึ่งจะมอบเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ให้แก่ผู้ที่สร้าง Block ได้สำเร็จ ซึ่งการมอบเหรียญที่สร้างขึ้นใหม่นี้เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ Node ทั้งหลายยังคงสนับสนุนระบบต่อไป และยังเป็นวิธีที่จะแจกจ่ายเหรียญออกไปเพื่อหมุนเวียนในระบบในขั้นต้น เนื่องจากระบบไม่มีตัวกลางในการออกเหรียญ
-
การเพิ่มขึ้นของเหรียญที่ถูกสร้างใหม่ จะคล้ายกับการขุดทอง ที่นักขุดทองจะต้องมีต้นทุนในการขุดเพื่อหาทองใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยเจอมาก่อน ซึ่งใน Bitcoin ต้นทุนที่ใช้จะประกอบด้วย
- การลงทุนซื้อ CPU เพื่อทำ Proof-of-Work โดย CPU ที่มีประสิทธิภาพสูงจะมีราคาสูง แต่โอกาสในการทำ Proof-of-Work สำเร็จก็จะมากเช่นกัน
- เวลาที่ใช้ในการทำ Proof-of-Work
- ค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของ CPU ที่ใช้ในการทำ Proof-of-Work
-
รางวัลในระบบนี้ยังรวมถึงค่าธรรมเนียมของธุรกรรม โดยนอกเหนือจากค่าธรรมเนียมปกติที่เราจะต้องจ่ายเพื่อทำธุรกรรมแล้ว จะมีในกรณีที่มูลค่าของธุรกรรมนั้นมีค่าน้อยกว่าจำนวนเงินที่ใส่เข้ามาในธุรกรรมตอนแรก จำนวนเงินที่เป็นส่วนต่าง คือค่าธรรมเนียมที่จะถูกนำไปเป็นรางวัลเพิ่มเติมที่จะอยู่ใน Block ที่มีธุรกรรม
-
ในกรณีที่เหรียญใหม่ถูกสร้างขึ้นจนหมดแล้ว จะไม่มีการสร้างเหรียญใหม่อีก ดังนั้นรางวัลที่เหลืออยู่ในระบบก็คือค่าธรรมเนียมของธุรกรรมทั้งหมด ที่ปราศจากอัตราเงินเฟ้อโดยสิ้นเชิง ซึ่งรางวัลเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ Node ทั้งหลายยังทำงานอย่างซื่อสัตย์
แรงจูงใจหรือรางวัลมีผลอย่างไรต่อ Attacker
ถ้าหากมี Attacker ที่มีกำลัง CPU มากกว่า Node ที่ซื่อสัตย์ เขาจะมี 2 ทางเลือกที่สามารถทำได้ คือ
- โกงทุกคนในระบบ ขโมยเงินกลับมาโดยการทำให้ธุรกรรมของเขาไม่เคยเกิดขึ้น
- ใช้กำลัง CPU ที่เขามีในการสร้างเหรียญใหม่ ๆ ขึ้นมา
ผู้เขียน Bitcoin Whitepaper ให้เหตุผลว่า Attacker จะเลือกทางที่ 2 เนื่องจาก ถ้าหากเขานำกำลังที่มีมาช่วยระบบและได้รับเหรียญใหม่ ๆ เขาจะได้ผลตอบแทนมากกว่าการนำกำลังที่มีไปโกงทุกคนเพื่อให้ได้แค่เงินที่เขาเคยใช้ไปแล้วกลับมาเท่านั้น
ในหลาย EP ที่ผ่านมาเราได้พูดถึงการทำธุรกรรมในแง่มุมต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการทำ วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ จนมาถึงรางวัลและแรงจูงใจ หลาย ๆ คนอาจจะเกิดข้อสงสัยว่า ธุรกรรมมากมายที่ทำบน Bitcoin ทำแล้วไปไหน ทำแล้วจะเก็บให้หมดได้อย่างไร หากอยากทราบวิธีการที่ Bitcoin ใช้เก็บข้อมูล ติดตามต่อได้ใน Series : Bitcoin Whitepaper EP ต่อไป
Reference
- Link here…