EP 6 : Incentive (แรงจูงใจ, รางวัล)

Planning


Outline-text

ชื่อหัวข้อที่จะนำเสนอ

  • EP 6 : Incentive (แรงจูงใจ, รางวัล)

โครงสร้างของเนื้อหา

  • หัวข้อที่ 1 : เกริ่นนำ จากหัวข้อทั้งหมดที่กล่าวมา ใน EP 6 : Incentive (แรงจูงใจ, รางวัล) น่าจะเป็นหัวข้อที่หลายคนให้ความสนใจมากที่สุด ว่าอะไรเป็นแรงจูงใจที่ทำให้คนต้องสนใจ Bitcoin และอะไรคือ รางวัลตอบแทนที่เราจะได้จากมันนั่นเอง
  • หัวข้อที่ 2 : ทำไมผู้คนถึงสนใจเข้าร่วมใน bitcoin network
  • หัวข้อที่ 3 : ถ้าเหรียญถูกขุดออกมาจนครบ 21 ล้านแล้ว รางวัลที่เหลืออยู่คืออะไร
  • หัวข้อที่ 4 : เพราะอะไร Attacker ที่มีกำลัง Cpu มากกว่า Node อื่น ๆ จะไม่โกงในระบบ
  • หัวข้อที่ 5 : ถ้าเราทำธุรกรรมมากมาย แล้วพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของ Bitcoin มันจะไม่เต็มหรือ หากอยากทราบว่า Bitcoin เขามีวิธีในการจัดเก็บข้อมูลอย่างไร ติดตามต่อใน EP 7 : Reclaiming Disk Space - Experimental :globe_with_meridians: / Content Board - Hashpire Community

ประเด็นสำคัญของบทความ

  • Incentive (แรงจูงใจ, รางวัล) คืออะไร

สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับจากบทความ

  • เข้าใจ Incentive (แรงจูงใจ, รางวัล) ของ Bitcoin
  • รู้ว่าหลังจากเหรียญหมดจะเกิดอะไรขึ้น
  • เพราะอะไร Attacker ถึงจะไม่โกงระบบ ทำให้ระบบมีความปลอดภัยจากการโกง

Outline-graphic

รูปแบบของกราฟฟิค + โครงสร้าง


คำถามที่รบกวนให้ Reviewer ช่วยตอบค่ะ

1. ต้องการรู้ประเด็นไหนเพิ่มเติมไหม เพราะอะไร

2. คิดว่าเรียงลำดับการนำเสนอได้ดีรึยัง ถ้าไม่ดี มีไอเดียอย่างไร

3. มีประเด็นไหนควรตัดทิ้งไหม เพราะอะไร


:memo: Content text + graphic

Node : ผู้ที่มีส่วนร่วมในเครือข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย Blockchain
Block : สิ่งที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
Attacker : ผู้โจมตีระบบ
Proof-of-Work : สามารถกลับไปอ่านได้ใน EP 4 : Proof-of-Work

จาก EP ต่าง ๆ ที่ผ่านมา หัวข้อนี้น่าจะเป็นหัวข้อที่หลายคนให้ความสนใจมากที่สุด เพราะมันจะอธิบายว่าอะไรเป็นแรงจูงใจที่ทำให้คนต้องหันมาทำธุรกรรมบน Bitcoin

ทำไมผู้คนถึงสนใจเข้าร่วม Bitcoin Network

แน่นอนว่าสิ่งที่ทำให้ผู้คนหันมาสนใจ Bitcoin คงหนีไม่พ้น รางวัลที่เราจะได้รับจากการทำธุรกรรมหรือการทำ Proof-of-Work ซึ่งใน Bitcoin ได้ระบุไว้ดังนี้

  • ธุรกรรมแรกใน Block จะเป็น “ธุรกรรมพิเศษ” ซึ่งจะมอบเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ให้แก่ผู้ที่สร้าง Block ได้สำเร็จ ซึ่งการมอบเหรียญที่สร้างขึ้นใหม่นี้เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ Node ทั้งหลายยังคงสนับสนุนระบบต่อไป และยังเป็นวิธีที่จะแจกจ่ายเหรียญออกไปเพื่อหมุนเวียนในระบบในขั้นต้น เนื่องจากระบบไม่มีตัวกลางในการออกเหรียญ

  • การเพิ่มขึ้นของเหรียญที่ถูกสร้างใหม่ จะคล้ายกับการขุดทอง ที่นักขุดทองจะต้องมีต้นทุนในการขุดเพื่อหาทองใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยเจอมาก่อน ซึ่งใน Bitcoin ต้นทุนที่ใช้จะประกอบด้วย

    • การลงทุนซื้อ CPU เพื่อทำ Proof-of-Work โดย CPU ที่มีประสิทธิภาพสูงจะมีราคาสูง แต่โอกาสในการทำ Proof-of-Work สำเร็จก็จะมากเช่นกัน
    • เวลาที่ใช้ในการทำ Proof-of-Work
    • ค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของ CPU ที่ใช้ในการทำ Proof-of-Work
  • รางวัลในระบบนี้ยังรวมถึงค่าธรรมเนียมของธุรกรรม โดยนอกเหนือจากค่าธรรมเนียมปกติที่เราจะต้องจ่ายเพื่อทำธุรกรรมแล้ว จะมีในกรณีที่มูลค่าของธุรกรรมนั้นมีค่าน้อยกว่าจำนวนเงินที่ใส่เข้ามาในธุรกรรมตอนแรก จำนวนเงินที่เป็นส่วนต่าง คือค่าธรรมเนียมที่จะถูกนำไปเป็นรางวัลเพิ่มเติมที่จะอยู่ใน Block ที่มีธุรกรรม

  • ในกรณีที่เหรียญใหม่ถูกสร้างขึ้นจนหมดแล้ว จะไม่มีการสร้างเหรียญใหม่อีก ดังนั้นรางวัลที่เหลืออยู่ในระบบก็คือค่าธรรมเนียมของธุรกรรมทั้งหมด ที่ปราศจากอัตราเงินเฟ้อโดยสิ้นเชิง ซึ่งรางวัลเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ Node ทั้งหลายยังทำงานอย่างซื่อสัตย์

แรงจูงใจหรือรางวัลมีผลอย่างไรต่อ Attacker

ถ้าหากมี Attacker ที่มีกำลัง CPU มากกว่า Node ที่ซื่อสัตย์ เขาจะมี 2 ทางเลือกที่สามารถทำได้ คือ

  1. โกงทุกคนในระบบ ขโมยเงินกลับมาโดยการทำให้ธุรกรรมของเขาไม่เคยเกิดขึ้น
  2. ใช้กำลัง CPU ที่เขามีในการสร้างเหรียญใหม่ ๆ ขึ้นมา

ผู้เขียน Bitcoin Whitepaper ให้เหตุผลว่า Attacker จะเลือกทางที่ 2 เนื่องจาก ถ้าหากเขานำกำลังที่มีมาช่วยระบบและได้รับเหรียญใหม่ ๆ เขาจะได้ผลตอบแทนมากกว่าการนำกำลังที่มีไปโกงทุกคนเพื่อให้ได้แค่เงินที่เขาเคยใช้ไปแล้วกลับมาเท่านั้น

ในหลาย EP ที่ผ่านมาเราได้พูดถึงการทำธุรกรรมในแง่มุมต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการทำ วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ จนมาถึงรางวัลและแรงจูงใจ หลาย ๆ คนอาจจะเกิดข้อสงสัยว่า ธุรกรรมมากมายที่ทำบน Bitcoin ทำแล้วไปไหน ทำแล้วจะเก็บให้หมดได้อย่างไร หากอยากทราบวิธีการที่ Bitcoin ใช้เก็บข้อมูล ติดตามต่อได้ใน Series : Bitcoin Whitepaper EP ต่อไป

Reference

  • Link here…

อาจจะเสริมเรื่อง 51% Attack เข้าไปด้วยดีไหมครับ เพราะเห็นว่าหัวข้อที่ 4 พูดถึง Attacker

น่าจะเป็นการตั้งคำถามในเชิงที่ว่า ทำไมคนถึง joint network เพราะมี incentive ในการทำ PoW etc.

เช่น อาจจะตั้งคำถามว่า ทำไมผู้คนถึงสนใจเข้าร่วมใน bitcoin network แทนที่จะบอกว่า Bitcoin มีรางวัลอะไร ประมาณนี้ไหมคะ

เปลี่ยนเป็นถ้าเหรียญถูกขุดออกมาจนครบ 21 ล้านแล้ว รางวัลที่เหลืออยู่คืออะไร ประมาณนี้ดีไหมครับ

เสนอให้เพิ่มเรื่อง decimal places ครับ

@Namtan

  1. รางวัลตอบแทนของเรื่องอะไรครับ อาจจะเขียนให้ชัดเจนครับ จากการขุด ? (POW)
  1. คำว่าคนมาลงทุน ตรงนี้อ่านแล้วเหมือนการลงทุนซื้อเหรียญ Bitcoin เลยครับ ซึ่งการซื้อเหรียญมาครอบครองไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่องรางวัลตอบแทนนะครับ รางวัลมีไว้สำหรับคนที่ทำ POW ครับ หรือพวก node นั่นเอง อาจจะเปลี่ยนการอธิบายให้ชัดเจนครับ ตอนนี้อ่านแล้วเหมือนพูดถึงนักลงทุนหุ้น ไรงี้
  1. พอแปลตรงตัวอ่านแล้วแปลกๆ …ต้นทุนของการทำ POW ที่พี่เข้าใจคือ
    -1. เราต้องลงทุนซื้อ CPU เพื่อมาทำ POW (นักขุดทองต้องลงทุนซื้อจอบเอามาไว้ขุด จอบยิ่งใหญ่ยิ่งแพง เช่นเดียวกัน CPU ยิ่งแรง ราคาก็ยิ่งแพง แต่มีโอกาสขุดเจอทองไวขึ้นแน่นอน)
    -2. เราต้องเสียเวลาในการทำ POW
    -3. เราต้องเสียค่าไฟซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของ CPU
  1. ตรงนี้พี่อ่านแล้วก็ไม่เข้าใจว่าทำไม input จะน้อยกว่า output เลยลองไปถาม chatGPT เราลองอ่านดูนะครับ เผื่อลองเอามาปรับ หรือเราจะลองไปถาม chatGPT เพิ่มก็ได้นะ + ใน white paper จะมีพูดถึงเรื่องการไม่เกิดเงินเฟ้อในระบบนี้ด้วยนะครับ อาจจะต้องเสริมลงไปหน่อย



  1. ปรับประโยคใหม่ครับดู ให้กระชับกว่านี้ เช่นตรงที่บอกว่า “เขาจะค้นพบว่า” เปลี่ยนเป็น “เพราะ” ?

@Namtan

  1. เราเขียนไว้ตอนต้นว่า “ผลตอบแทนที่เราจะได้รับจากการทำธุรกรรมหรือการทำ Proof-of-Work ซึ่งใน Bitcoin ได้ระบุไว้ดังนี้” ข้อนี้ดูเหมือนจะไม่ใช่ผลตอบแทนนะครับ น้องต้องอย่าลืมว่าสิ่งที่เราเขียน จะต้องสอดคล้องกับหัวข้อที่เราเกริ่นด้วย อันนี้เหมือนต้องการอธิบายแต่แตกเป็น Bullet เพื่อให้อ่านง่ายมากกว่า อาจจะไปเปลี่ยนหัวข้อ ?
  1. Bullet นี้ก็ไม่ตรงกับหัวข้อเช่นเดียวกับข้อ 1 ที่แจ้งไปครับ ดังนั้นไปแก้หัวข้อน่าจะง่ายกว่า
  1. อันนี้เหมือนพี่จะเขียนให้เราเป็นภาษาพูด ลองปรับใหม่หน่อยครับ
  1. หัวค่อยถูกใจหัวข้อแฮะ น่าจะหัวข้อแนวๆ "แรงจูงใจหรือรางวัลมีผลอย่างไรต่อ Attacker " หรืออาจจะลองปรับๆ ดูครับ
  1. Bitcoin ไม่น่าใช่คนที่ให้เหตุผลได้ คนเขียน White paper ต่างหาก ตรงนี้ปรับแก้ให้ถูกต้องครับ