EP 9 : Combining and Splitting Value การรวมและการแบ่งมูลค่า

Planning


Outline-text

ชื่อหัวข้อที่จะนำเสนอ

  • EP 9 : Combining and Splitting Value การรวมและการแบ่งมูลค่า

โครงสร้างของเนื้อหา

  • หัวข้อที่ 1 : เกริ่นนำ การทำธุรกรรมมีทั้งเล็กและใหญ่ต่างกันไป หากเป็นการทำธุรกรรมแบบเดิมเราสามารถที่จะกำหนดขนาดของธุรกรรมที่เราจะทำได้ว่าจะโอนเงินน้อยหรือมาก แล้ว Bitcoin ทำได้มั้ยอย่างไร ใน EP : 9 Combining and Splitting Value การรวมและการแบ่งมูลค่า ของ Bitcoin Whitepaper จะมาอธิบายให้ทุกคนได้ทราบกัน
  • หัวข้อที่ 2 : การรวมและการแบ่งมูลค่าของเหรียญ Bitcoin ทำอย่างไร
  • หัวข้อที่ 3 : ทำธุรกรรม สิ่งสำคัญที่สุดที่ทุกคนต้องการ คือ Privacy ความเป็นส่วนตัว Bitcoin คำนึงถึงสิ่งนี้อย่างมากและคิดวิธีการในการสร้าง Privacy มาให้ทุกคนเป็นอย่างดี ถ้าหากอยากทราบว่า ทำอย่างไร ติดตามต่อใน EP 10 : Privacy ความเป็นส่วนตัว - Experimental :globe_with_meridians: / Content Board - Hashpire Community

ประเด็นสำคัญของบทความ

  • การรวมและการแบ่งมูลค่าของ Bitcoin

สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับจากบทความ

  • เข้าใจวิธีการรวมและการแบ่งมูลค่าของ Bitcoin

Outline-graphic

รูปแบบของกราฟฟิค + โครงสร้าง


คำถามที่รบกวนให้ Reviewer ช่วยตอบค่ะ

1. ต้องการรู้ประเด็นไหนเพิ่มเติมไหม เพราะอะไร

2. คิดว่าเรียงลำดับการนำเสนอได้ดีรึยัง ถ้าไม่ดี มีไอเดียอย่างไร

3. มีประเด็นไหนควรตัดทิ้งไหม เพราะอะไร


:memo: Content text + graphic

จาก EP ที่ผ่านมาเราพูดถึงการทำธุรกรรมบน Bitcoin ในแง่มุมต่าง ๆ มากมายทั้ง องค์ประกอบ แรงจูงใจ ไปจนถึงการตรวจสอบธุรกรรม แล้วทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่าเรื่องง่าย ๆ อย่างการโอนเงินหรือการรับเงินใน Bitcoin จัดการอย่างไร

การจัดการเหรียญบน Bitcoin

การทำธุรกรรมบน Bitcoin เราสามารถจัดการเหรียญแต่ละเหรียญได้อย่างอิสระ แต่มันอาจจะยุ่งยากและซับซ้อนเกินไป หากเราต้องแบ่งธุรกรรมออกเป็นหลาย ๆ ธุรกรรม เนื่องจากใน 1 ธุรกรรมเราสามารถโอนได้เพียง 1 รายการ เท่านั้น

การทำ Combining and Splitting Value

Bitcoin ใช้วิธีการทำ Combining and Splitting Value โดยใน 1 ธุรกรรมประกอบด้วย Input และ Output หลายรายการ ซึ่งทำให้ 1 ธุรกรรมสามารถรับและโอนได้ทีเดียวหลายรายการ

ภาพถ่ายหน้าจอ 2566-01-24 เวลา 15.49.46

การแบ่งประเภท Input และ Output

Input (การรับเงิน) แบ่งเป็น

  • 1 Input ที่มาจากธุรกรรมที่มีจำนวนเงินเยอะ
  • หลาย Input ที่มาจากหลาย ๆ ธุรกรรมที่มีจำนวนเงินน้อย ๆ

Output (การโอนเงิน) แบ่งเป็น

  • Output ส่วนที่เราชำระเงินสำหรับสินค้าหรือบริการ
  • Output ส่วนต่างที่เหลือจากการชำระเงิน (ถ้ามี)

หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วเราจะทำ Combining and Splitting Value เมื่อไร ต้องทำกับทุกธุรกรรมหรือไม่ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เราจะขอแบ่งรูปแบบการทำธุรกรรมบน Bitcoin ดังนี้

  1. กรณีที่ไม่จำเป็นต้องทำ Combining and Splitting Value เช่น
    A ได้รับเงินมาจาก F จำนวน 70 BTC และ A ต้องการโอนเงินให้ B จำนวน 70 BTC กรณีนี้ A จะสามารถโอนเงินให้ B ได้ในทันที
  2. กรณีที่ต้องทำการรวมมูลค่า (Combining Value ) เช่น
    A ได้รับเงินมาจาก T จำนวน 30 BTC , N จำนวน 20 BTC และ A ต้องการโอนเงินให้ B จำนวน 50 BTC กรณีนี้ A สามารถรวมเงินที่ได้จาก T และ N คือ 30 + 20 = 50 BTC และจะสามารถโอนไปให้ B ได้
  3. กรณีที่ต้องทำการแบ่งมูลค่า (Splitting Value ) เช่น
    A ได้รับเงินมาจาก F จำนวน 70 BTC และ A ต้องการโอนเงินให้ B จำนวน 50 BTC กรณีนี้ A สามารถแบ่งเงินที่จะโอน ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ต้องการโอนให้ B จำนวน 50 BTC และส่วนที่ส่งกลับมาหาตัวเองอีก 10 BTC
  4. กรณีที่ต้องทำทั้ง Combining and Splitting Value เช่น
    A ได้รับเงินมาจาก T จำนวน 50 BTC , N จำนวน 60 BTC และ A ต้องการโอนเงินให้ B จำนวน 100 BTC กรณีนี้ A สามารถรวมเงินที่ได้จาก T และ N คือ 50 + 60 = 110 BTC จากนั้นแบ่งเงินที่จะโอน ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ต้องการโอนให้ B จำนวน 100 BTC และส่วนที่ส่งกลับมาหาตัวเองอีก 10 BTC

วิธี Fan-out ของ Bitcoin คืออะไร

คือการรวบรวมหลาย ๆ ธุรกรรมเข้าด้วยกัน แล้วส่งออกไปทีเดียว โดยไม่จำเป็นต้องแบ่งธุรกรรมทั้งหมด เพื่อช่วยให้ลดขนาดของ Block และลดความยุ่งยากในการตรวจสอบธุรกรรม

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับ EP 9 : Combining and Splitting Value จากที่อธิบายมาทั้งหมด น่าจะทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจการรวมและการแบ่งมูลค่าของการทำธุรกรรมบน Bitcoin ได้มากยิ่งขึ้นแล้ว แต่มันยังไม่จบเพียงเท่านี้เพราะใน EP หน้าเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องการเป็นอย่างมากแบบขาดไม่ได้เลยทีเดียว หากอยากรู้ว่าเป็นเรื่องอะไร ติดตามต่อได้ใน Series : Bitcoin Whitepaper EP ต่อไป

Reference

  • Link here…

เสนอให้ยกตัวอย่างค่ะ ถ้าใช้คำว่าการแบ่งมูลค่าเหรียญอาจไม่เห็นภาพ อาจจะยกตัวอย่างไปเลยค่ะ

เล็กและใหญ่ อันนี้หมายถึงจำนวนของเหรียญใช่ไหมครับ หรือหมายถึงอย่างอื่น

@Namtan อ่านแล้วโอเคครับ

  1. ตรงนี้พี่ว่าไม่ต้องบอกก็ได้ เพราะส่วนที่ชำระสินค้าและบริการก็ไม่ได้บอกว่าส่งไปให้ใคร คนน่าจะเข้าใจอยู่ละ บางทีเขียนไปแบบนี้มันจะทำให้เค้างงว่า การชำระค่าบริการจะส่งกลับไปให้ผู้ส่งด้วย (เหมือนอ่านรวบ)
  1. Fan-out
  1. เหมือนจะตกเรื่องการแก้ปัญหา transaction malleability

  2. อ่านแล้วก็ไม่เข้าใจว่า

  • แล้วจะรวมธุรกรรมเพื่ออะไร
  • ประโยคที่ว่า “โดยไม่จำเป็นต้องแบ่งธุรกรรมทั้งหมด” ต้องการจะสื่อสารอะไร

พี่ลองไปถาม chatGPT มามันก็อธิบายดีนะ แต่มันจจะโง่ภาษาไทย ต้องมาเรียงใหม่ ลองดูตัวอย่างครับ

พี่ว่าเราต้องเข้าใจหลักการทำงานของมันก่อน เท่าที่พี่เข้าใจคือ

การ Combining

  • สมมุติว่ามีคนโอน BTC ให้พี่ 5 คน คนละ 1 เหรียญ เท่ากับว่าพี่มีตอนนี้ 5 เหรียญ
  • การ Combinding คือการที่พี่ไม่ต้องไปโอนทีละเหรียญ 5 ครั้งให้กับเพื่อน (เกิด 5 transaction)
  • หากพี่ต้องการโอน 5 BTC ให้เขา พี่สามารถรวม 5 ธุรกรรมก่อนหน้า (ที่ได้รับมาจากคนอื่น 5 คน) แล้วโอนออกให้เพื่อน 5BTC ได้เลย (เกิด 1 transaction)

การ Splitting

  • สมมุติว่ามีคนโอน BTC 5 เหรียญ
  • พี่ต้องการจ่าย BTC เป็นค่าบริการรายเดือนต่างๆ เช่น ค่า Netflix 1BTC, ค่าไฟ 2BTC, ค่าน้ำ 1.5BTC
  • พี่สามารถแบ่งเงินจากธุรกรรม 5BTC ที่ได้รับมาก่อนหน้า
  • ออกเป็น Netflix 1BTC, ค่าไฟ 2BTC, ค่าน้ำ 1.5BTC และ 0.5BTC คือเงินที่ยังเหลืออยู่ (หรือที่เราชอบแปลว่าเงินทอนนั่นแหละ จริงๆมันไม่ได้ทอน มันคือส่วนต่างเราใช้ไม่หมดแค่นั้นเอง)

ถ้าอยากเข้าใจเรื่องนี้ลองไปนั่งคุยกับ chatGPT ดูให้มันยกตัวอย่างเรื่องการ Splitting หรือ Combining ในชีวิตจริงก็ได้

  1. พี่ว่าบทความเรื่องนี้แก่นมันจริงๆ คือการทำให้คนอ่านเข้าใจการ Splitting กับ Combining ครับ ต้องการ Use case (ตัวอย่าง) ยิ่งพวก Artwork ยิ่งคววรมีตัวอย่างเลยครับ ฝากปรับครับ