EP 10 : Privacy ความเป็นส่วนตัว

Planning


Outline-text

ชื่อหัวข้อที่จะนำเสนอ

  • EP 10 : Privacy ความเป็นส่วนตัว

โครงสร้างของเนื้อหา

  • หัวข้อที่ 1 : เกริ่นนำ > Privacy (ความเป็นส่วนตัว) คือสิ่งที่ทุกคนต้องการในการทำธุรกรรม แต่มันหาได้ยากในการทำธุรกรรมแบบเดิมที่มีตัวกลาง อย่างธนาคาร แต่ Bitcoin ได้คิดวิธีที่จะทำให้การทำธุรกรรมของคุณมีความเป็นส่วนตัวที่สุดมาให้แล้ว จะมีวิธีการอย่างไรใน EP 10 : Privacy ความเป็นส่วนตัว ของ Bitcoin Whitepaper จะมาอธิบายให้ทราบกัน
  • หัวข้อที่ 2 : อธิบายวิธีการที่ Bitcoin ใช้ในการรักษาความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งาน > การใช้ Public key

ประเด็นสำคัญของบทความ

  • การสร้าง Privacy (ความเป็นส่วนตัว) ของ Bitcoin

สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับจากบทความ

  • ทราบวิธีการที่ Bitcoin ใช้ในการสร้าง Privacy (ความเป็นส่วนตัว) ให้ผู้ใช้งาน

Outline-graphic

รูปแบบของกราฟฟิค + โครงสร้าง


คำถามที่รบกวนให้ Reviewer ช่วยตอบค่ะ

1. ต้องการรู้ประเด็นไหนเพิ่มเติมไหม เพราะอะไร

2. คิดว่าเรียงลำดับการนำเสนอได้ดีรึยัง ถ้าไม่ดี มีไอเดียอย่างไร

3. มีประเด็นไหนควรตัดทิ้งไหม เพราะอะไร


:memo: Content text + graphic

คำศัพท์ที่ควรรู้ก่อนอ่านบทความ
Double-spending : การทำธุรกรรมซ้ำ

ใน EP นี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Privacy หรือความเป็นส่วนตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการในการทำธุรกรรม และไม่ว่าจะเป็นสถาบันทางการเงินหรือ Bitcoin ล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นส่วนตัวมาเป็นอันดับต้น ๆ อีกด้วย

การทำธุรกรรมผ่านสถาบันทางการเงิน มีการรักษาความเป็นส่วนตัวให้ผู้ใช้อย่างไร ?

การทำธุรกรรมผ่านสถาบันทางการเงิน จะมีการรักษาความเป็นส่วนตัว โดยการจำกัดเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้ เช่น A โอนเงินไป B ข้อมูลการโอนเงินจะมีเฉพาะ A , B และธนาคารเท่านั้นที่ทราบ

Bitcoin ไม่สามารถจำกัดบุคคลที่สามารถทราบข้อมูลในการทำธุรกรรมได้ ?

เนื่องจากในการทำธุรกรรมบน Bitcoin ธุรกรรมทั้งหมดจะต้องถูกประกาศต่อสาธารณะ ให้ทุกคนในเครือข่ายรับทราบและร่วมตัดสินความถูกต้องของธุรกรรม เพื่อความโปร่งใสและป้องกันการทำ Double-spending

แต่ !!! การประกาศธุรกรรมทั้งหมดต่อสาธารณะ ขัดแย้งกับการรักษาความเป็นส่วนตัวหรือไม่ ?

การประกาศธุรกรรมทั้งหมดต่อสาธารณะ เป็นวิธีการที่ค่อนข้างขัดแย้งกับความต้องการที่จะรักษาความเป็นส่วนตัวให้ผู้ใช้เป็นอย่างมาก ดังนั้น Bitcoin จึงแก้ปัญหาโดยการทำ “Public key”

Public key คือคีย์สาธารณะที่ไม่มีการระบุตัวตนผู้ใช้งานและไม่มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่สามารถเชื่อมโยงจากธุรกรรมไปหาบุคคลใด ๆ ได้ ตัวอย่าง เช่น A โอนเงินไปหา B บุคคลภายนอกจะสามารถเห็นได้ว่ามีการโอนเงินระหว่าง A กับ B แต่จะไม่มีทางทราบได้ว่า A และ B คือใคร

นอกจากนั้นเพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้น ผู้ใช้งานควรสร้าง Public key (address) ใหม่ทุกครั้งในทุกๆ การโอน เพื่อไม่ให้มีข้อมูลที่จะเชื่อมโยงมาสู่ผู้ใช้งานได้

อย่างไรก็ตาม มันอาจจะมีข้อมูลบางอย่างที่ไม่สามารถปกปิดได้ เช่น ถ้าคุณมีบัญชี A และ B และคุณต้องการโอนเงินจากทั้ง 2 บัญชีไปยังบัญชี C มันจะแสดงว่าในธุรกรรมนี้มีการโอนเงินที่มาจากเจ้าของเดียวกัน ซึ่งหากมีข้อมูลเปิดเผยว่าเจ้าของ Public key เป็นใคร ก็อาจจะทำให้สามารถเชื่อมโยงไปยังธุรกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้

เดินทางมาถึง EP 10 กันแล้วสำหรับ Bitcoin Whitepaper เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเข้าใจในวิธีการและหลักการที่ Bitcoin ใช้มากขึ้น แต่ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะใน EP สุดท้ายเราจะมาสรุปรวบรวมแนวคิดของ Bitcoin ทั้งหมดจาก EP ที่ผ่านมาให้ทุกคนได้เห็นภาพรวมได้มากยิ่งขึ้น อย่าลืมติดตามต่อได้ใน Series : Bitcoin Whitepaper EP สุดท้าย

Reference

  • Link here…

อาจจะขยายความเพิ่มนิดหน่อยค่าว่าในเชิงไหน เพราะก็ไม่ใช่ว่าระบบดั้งเดิมจะไม่มี privacy เลย

ตามใน paper เขาเขียนไว้ว่า

The traditional banking model achieves a level of privacy by limiting access to information to the parties involved and the trusted third party.

ก็คือมีความ privacy ระดับนึงคือการจำกัดคนเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวให้อยู่ในเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตามการทำแบบนี้มีช่องโหว่ที่สามารถให้เข้าถึงข้อมูลและถูกแฮกได้อยู่ดี

@Namtan ดึงเข้าบทสุดท้ายหน่อยไหมครับ ?