EP 1 : บทนำ Bitcoin Whitepaper

Planning


Outline-text

ชื่อหัวข้อที่จะนำเสนอ

  • EP 1 : บทนำ Bitcoin Whitepaper

โครงสร้างของเนื้อหา

  • หัวข้อที่1 : เกริ่นนำ > จาก EP 0 ที่เราได้พูดถึง Whitepaper และได้มีการยกตัวอย่าง Bitcoin Whitepaper ให้ทุกคนรู้จักกันไปแล้วเล็กน้อย มาใน EP 1 นี้เราจะพาทุกคนไปเริ่มอ่าน Bitcoin Whitepaper กันแบบเจาะลึกลงไปให้เห็นถึงรายละเอียดที่ถูกเขียนไว้ข้างในว่ามีความเข้าใจยากง่ายหรือจะน่าสนใจมากแค่ไหนไปดูกันเลย
  • หัวข้อที่ 2 : เปิดด้วยคำถาม > ทุกคนเคยคิดไหมว่าทำไมบนโลกนี้ต้องมี Bitcoin ? หรือ Bitcoin แก้ปัญหาอะไร แล้วแก้ได้จริงมั้ย ในบทนำของ Bitcoin Whitepaper จะตอบคำถามนี้ให้กับคุณเอง
    ตอบคำถามโดยอธิบายถึงความเป็นมาว่าทำไมถึงมีการสร้าง Bitcoin ขึ้นมา สาเหตุมาจากอะไร
  • หัวข้อที่ 3 : วัตถุประสงค์ในการสร้าง Bitcoin คืออะไร แล้วทำอย่างไรบ้าง สรุปเป็นข้อๆ
  • หัวข้อที่ 4 : หากอยากทราบรายละเอียดที่เจาะลงไปถึงวิธีการที่ Bitcoin นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ติดตามต่อใน EP 2 : ธุรกรรม (Transactions) - Experimental :globe_with_meridians: / Content Board - Hashpire Community

Q 1 : ปัจจุบันการค้าขายแลกเปลี่ยนผ่านทางอินเทอร์เน็ต มีสถาบันทางการเงินเป็นตัวกลางที่มีเครดิต มีความน่าเชื่อถือในการยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมออนไลน์เหล่านี้อยู่แล้ว ทำไมต้องมี Bitcoin เข้ามาอีก ?
Q 2 : ปัญหาอยู่ที่ตัวกลาง แล้ว Bitcoin จะเข้ามาแก้ไขได้ยังไง

ประเด็นสำคัญของบทความ

  • บทนำ Bitcoin Whitepaper สิ่งที่ Bitcoin ต้องการทำ

สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับจากบทความ

  • เข้าใจความเป็นมาและความต้องการของ Bitcoin ในเบื้องต้นก่อนเจาะลึกเข้าสู่บทต่าง ๆ

Outline-graphic

รูปแบบของกราฟฟิค + โครงสร้าง


คำถามที่รบกวนให้ Reviewer ช่วยตอบค่ะ

1. ต้องการรู้ประเด็นไหนเพิ่มเติมไหม เพราะอะไร

2. คิดว่าเรียงลำดับการนำเสนอได้ดีรึยัง ถ้าไม่ดี มีไอเดียอย่างไร

3. มีประเด็นไหนควรตัดทิ้งไหม เพราะอะไร


:memo: Content text + graphic

เนื่องจากในวันที่ 3 มกราคม ถือได้ว่าเป็นวันครบรอบ 14 ปีของ Bitcoin ซึ่งเป็นวันที่ Satoshi Nakamoto ได้สร้าง Block ขึ้นมาเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2009 ในชื่อ Genesis Block และถือได้ว่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่าย Bitcoin
วันนี้ทางเพจ Hashpire จึงถือโอกาสมาแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจว่าทำไม Bitcoin จึงถูกสร้างขึ้นมา ?

ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาอะไร แล้วมีประโยชน์กับตัวเราจริงหรือไม่ ? ก่อนที่เราจะไปถึงการสร้าง Bitcoin ต้องขอย้อนไปในปี 2007-2008 ที่มีการเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ส่งผลให้เกิดปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรง ธนาคารขาดทุนอย่างหนักและไม่มีเงินคืนนักลงทุน ทำให้ Satoshi Nakamoto ได้มีแนวคิดในการสร้าง Bitcoin ขึ้นมา ภายใต้ Concept ที่ว่า “เงินเรา เราดูแล (Ownership)”

Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาตัวกลางในการทำธุรกรรม ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่าปัญหาคืออะไร ในเมื่อการทำธุรกรรมผ่านสถาบันทางการเงินก็สามารถใช้งานได้ปกติและไม่ได้ปัญหาใด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วหากเราลองศึกษาให้ดี จะเห็นว่าระบบ Centralized ของสถาบันทางการเงินที่จริงแล้วมันมีปัญหา ซึ่งสรุปได้ดังนี้

  1. ปัญหาด้านความน่าเชื่อถือ (Trust)
    ตัวกลางอย่างสถาบันทางการเงินมีอำนาจในการอนุมัติให้การทำธุรกรรมของเราผ่านหรือไม่ผ่านได้ รวมทั้งยังสามารถย้อนคืนธุรกรรมและดึงเงินคืนจากเราได้แม้ว่าเราจะได้รับเงินไปแล้วก็ตาม ซึ่งระบบนี้จะมีผลเสียต่อผู้ขาย เช่น หากเราส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อทำการขอยกเลิกการโอนเงินกับสถาบันทางการเงินได้ จะทำให้เราเสียสินค้าและไม่ได้รับเงินอีกด้วย ดังนั้น ความน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราต้องเชื่อว่าธนาคารจะไม่ดึงเงินเราคืนหรือยกเลิกการทำธุรกรรมของเรา

  2. ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการทำธุรกรรม
    การทำธุรกรรมที่มีตัวกลางอย่างสถาบันทางการเงิน จะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายให้กับสถาบันทางการเงินนั้น ๆ และค่าใช้จ่ายนี้ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถทำธุรกรรมขนาดเล็กได้

อธิบายมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้ว Bitcoin จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร

สิ่งที่ Bitcoin ต้องการจะสร้างคือ ระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Cash) ที่ใช้ศาสตร์แห่งการเข้ารหัสและระบบ Peer-to-Peer (P2P) แทนที่การใช้ตัวกลางอย่างสถาบันทางการเงิน ซึ่ง Bitcoin ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างสกุลเงินที่เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงกับตัวกลางใด ๆ ไม่ว่าจะสถาบันทางการเงินหรือแม้แต่รัฐบาล โดยการตัดตัวกลางออกไป ซึ่งการตัดตัวกลางในที่นี้หมายถึงการตัดตัวกลางที่มีอำนาจการตัดสินใจแบบผูกขาดเพียงผู้เดียวออกและเปลี่ยนเป็นให้ทุกคนที่อยู่ในเครือข่าย (Network) เป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจร่วมกันแทน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ดังนี้

  1. ธุรกรรมที่ถูกยืนยันแล้วจะไม่สามารถถูกย้อนคืนหรือถูกยกเลิกได้
  2. ไม่มีใครสามารถปิดกั้นการทำธุรกรรมระหว่างคนสองคนได้
  3. ไม่มีบุคคลใดสามารถทำธุรกรรมแทนเราได้เนื่องจากสิทธิ์ในการทำธุรกรรมอยู่กับเราไม่ใช่ตัวกลาง (สินทรัพย์อยู่บน Blockchain)
  4. การทำธุรกรรมผ่าน Bitcoin ไม่มีตัวกลางอย่างสถาบันทางการเงิน ดังนั้นจึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่เราต้องจ่ายให้ตัวกลางออกไปได้

จากรายละเอียดที่เราได้อธิบายไว้ทั้งหมด จะเห็นได้ว่า Bitcoin ต้องการที่จะเข้ามาแก้ไขการทำธุรกรรมแบบเดิมที่มีสถาบันทางการเงินเป็นตัวกลาง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น แต่การตัดตัวกลางออกนั้นทำให้เกิดปัญหาอีกหลาย ๆ อย่างตามมา หากอยากรู้ว่าปัญหาคืออะไร แล้ว Bitcoin จะมีวิธีแก้อย่างไร

ติดตามต่อได้ใน Series : Bitcoin Whitepaper EP ต่อไป

คำศัพท์ทางเทคนิค (Technical Term)
1.Peer-to-Peer (P2P) : การส่งต่อข้อมูลหากันและกันเป็นเครือข่ายแบบไม่มีตัวกลาง

Reference

ส่วนตัวปันคิดว่าสองคำถามนี้น่าจะรวบเป็นคำถามเดียวกันได้นะคะ
อาจจะตั้งคำถามให้กระชับขึ้นและครอบคลุมทั้ง 2 ประเด็น เนื่องจากคำตอบน่าจะมีความเกี่ยวเนื่องกันไหมคะ อันนี้อาจจะลองดูความคิดเห็นจากทางพี่ต้าและพี่บูมอีกท่ค่ะ

เออคำถามอันนี้พี่ใส่เผื่อไว้ก่อนน้า น่าจะไม่ได้อยู่ในบทความหลักจ้า

  • อ่านแล้วแปลกๆ เพราะ EP0 น่าจะพูดถึง “Bitcoin Whitepaper” ไปแล้วตรงนี้ที่ใช้คำอธิบายว่า “ทุกคนน่าจะเคยได้ยินกันบ่อย ๆ” น่าจะดูแปลกๆ
  • ตรงนี้อ่านแล้วงง พิมพ์ตกปะครับ

  • หัวข้อที่ 2 จริงๆ ไม่อยากให้เป็นไปในเชิงคำถามทั่วไป แต่อยากให้เป็นแนวชวนคนอ่านตั้งคำถามต่างๆ ครับ เพื่อนำไปหาคำตอบในหัวข้อที่ 3

  • แปะ ref link bitcoin white paper และสรุปที่เราเคยพิมพ์กันไว้มาด้วยครับ

ส่วนตัว เข้าใจยากนิดหน่อยค่ะ หมายถึงสื่อสารในเชิงไหน อันนี้ส่วนตัวไม่ค่อยเห็นภาพเท่าไหร่ค่า

ประโยคที่บอกว่าปกป้องผู้ซื้อ คิดว่าควรเขียนให้ชัดเจนคือ “ปกป้องข้อมูลของผู้ซื้อ” น่าจะสื่สารแบบนี้ไหมคะ หรือว่าถ้าปันเจาะจงเกินกว่าความหมายพี่น้ำตาลก็ตามนั้นได้เลยค่ะ

Double spending ใช้คำว่า “การทำธุรกรรมซ้ำ” น่าจะเข้าใจง่ายกว่าค่า

@Namtan การเล่าเรื่องโดยรวมคิดว่าเรียบเรียงและนำเสนอออกมาได้ดีค่ะ

ไม่ค่อยเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อสักเท่าไหร่ครับ

สิ่งที่ Bitcoin ต้องการจะสร้างคือ ระบบการจ่ายเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ศาสตร์แห่งการเข้ารหัสและระบบ P2P แทนที่การใช้ตัวกลางอย่างสถาบันทางการเงิน

1 Like

สองคนสามารถทำธุรกรรมต่อกันได้โดยไม่ต้องผ่านบุคคลที่ 3

1 Like

ผ่าน btc ไม่มีตัวกลาง ลด cost ของตัวกลาง ลด cost ของการเคลื่อนย้ายเงิน

1 Like

จากรายละเอียดที่เราได้อธิบายไว้ทั้งหมด จะเห็นได้ว่า Bitcoin ต้องการที่จะเข้ามา แก้ไข การทำธุรกรรมแบบเดิมที่มีสถาบันทางการเงินเป็นตัวกลาง เพื่อให้ปลอดภัยขึ้น แต่ในการตัดตัวกลางออกนั้นทำให้เกิดปัญหาอีกหลาย ๆ อย่าง หากอยากเข้าใจอย่างละเอียดติดตามอ ep ต่อไป

อธบายเพิ่ม การไม่มีตัวกลางคืออะไร ? คนไม่เห็นภาพ

@anakornk ช่วยเสริมให้หน่อยครับ พี่ก็นึกไม่ออกแฮะเคสนี้

@Namtan พี่มีปรับคำผิด และรูปประโยคให้อ่านสมูทมากยิ่งขึ้นครับ ลองอ่านดูอีกทีนะครับ เบื้องต้นเนื้อหาโอเคแล้ว อ่านง่ายดี สนุกน่าติดตาม ชอบทั้งตอนต้น ตอนกลาง และตอนจบครับ อ่านเพลินเลย

Aw

  • 1.Cover
  • 2.About the Financial crisis in 2008 → concept of ownership เงินเราเราดูแล
  • 3.การทำธุรกรรมปัจจุบันแบบตัวกลางปัจจุบันมีปัญหาจริงหรือไม่?
    • ปัญหา: Trust
  • 4.การทำธุรกรรมปัจจุบันแบบตัวกลางปัจจุบันมีปัญหาจริงหรือไม่?
    • ปัญหา : Cost
  • 5.Concept ด้านบนถูกนำไปใช้พัฒนา Bitcoin – สกุลเงินดิจิทัลที่เป็นอิสร ไม่มีตัวกลาง (การตัดตัวกลางออกคือยังไง BTC ยังมีตัวกลางไหม อย่างไร)
  • 6.BTC เข้ามาแก้ไขอะไรบ้าง
  • 8.Quote from Gavin
    1. Ending

@Namtan

  • ปรับครับ Ownership จะต้องวงเล็บปะครับ ?

  • อื่นๆ พี่แก้ไขให้แล้วครับ เกี่ยวกับคำที่อ่านแล้วไม่ลื่นไหลเราลองตามอ่านอีกรอบนะครับ

เสริมครับ
“หากเป็นการโอนเงินระหว่างประเทศจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และจะสูงขึ้นตามจำนวนเงินที่ต้องการโอน”

ส่วนตัวปันว่า อันนี้น่าจะไม่ถูกต้องสะทีเดียวค่ะ จริงๆเงินเรา เราก็สามารถใช้จ่ายได้ 100% นั่นแหละค่ะ เพียงแต่เพราะเงินไม่ได้อยู่กับเราจริงๆ แต่ฝากกับธนาคาร

ทำไมถึงแพง

  • มีตัวกลาง มีค่าใช้จ่ายในการโยกย้ายเงินจาก A → B

Artwork