EP 0 : Whitepaper คืออะไร

Planning


Outline-text

ชื่อหัวข้อที่จะนำเสนอ

  • EP 0 : Whitepaper คืออะไร

โครงสร้างของเนื้อหา

  • หัวข้อที่ 1 : Whitepaper คืออะไร > อธิบายความหมายของ Whitepaper , ทำไมถึงเรียกว่า Whitepaper
  • หัวข้อที่ 2 : วัตถุประสงค์ของ Whitepaper > จัดทำขึ้นเพื่ออะไร
  • หัวข้อที่ 3 : ประเภทของ Whitepaper > backgrounders, numbered lists, problem/solution
  • หัวข้อที่ 4 : วิธีเขียน Whitepaper > ต้องเขียนยังไง , มีหัวข้ออะไรบ้างที่ต้องเขียน
  • หัวข้อที่ 5 : ตัวอย่าง Whitepaper > Bitcoin Whitepaper อธิบายเล็กน้อยว่าคืออะไร ใครคิด เมื่อไร (ถ้าอยากรู้ว่าข้างในเขียนอะไรไว้ ให้ติดตามต่อไปใน Series : Bitcoin Whitepaper ต่อไป

idea content เพิ่มเติม : Whitepaper Vs Yellow Paper
Ref : Whitepaper Versus Yellowpaper: What is the Difference?

ประเด็นสำคัญของบทความ

  • Whitepaper คืออะไร

สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับจากบทความ

  • เข้าความเป็นมาของ Whitepaper และรู้จัก Whitepaper ปูพื้นฐานก่อนไปอ่าน Bitcoin Whitepaper

Outline-graphic

รูปแบบของกราฟฟิค + โครงสร้าง


คำถามที่รบกวนให้ Reviewer ช่วยตอบค่ะ

  1. ต้องการรู้ประเด็นไหนเพิ่มเติมไหม เพราะอะไร
  2. คิดว่าเรียงลำดับการนำเสนอได้ดีรึยัง ถ้าไม่ดี มีไอเดียอย่างไร
  3. มีประเด็นไหนควรตัดทิ้งไหม เพราะอะไร

:memo: Content text + graphic

Whitepaper คืออะไร ?

Whitepaper คือ เอกสารนำเสนอข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ซึ่งถูกจัดทำขึ้นโดยเจ้าของโพรเจกต์หรือเจ้าของเทคโนโลยี โดยทั่วไปจะเป็นรายละเอียดทางเทคนิคที่บ่งบอกว่าเทคโนโลยีนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่ออะไร แก้ปัญหาในส่วนไหน หรือโครงสร้างการทำงานของระบบที่ต้องการพัฒนาเป็นอย่างไร

ทำไมต้องเรียก Whitepaper สืบเนื่องมาจาก Whitepaper นั้นเป็นเอกสารเสนอข้อมูลในหน่วยงานรัฐบาลของสหราชอาณาจักรต่อรัฐสภาที่ถูกใช้ในศตวรรษที่ 19 ซึ่ง Whitepaper ที่รัฐบาลใช้เป็นเอกสารประเภทที่ใช้ในการเสนอหัวข้อที่เฉพาะเจาะจง กระชับ พร้อมข้อมูลในการแก้ปัญหา ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลในอุตสาหกรรม จึงถูกนำใช้เป็นเอกสารนำเสนอข้อมูลในปัจจุบัน

อย่างที่เราได้บอกไปว่า Whitepaper มีการใช้งานมาตั้งแต่ในศตวรรษที่ 19 แล้ว แต่พึ่งจะมาได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากการที่ถูกนำมาใช้เสนอข้อมูลในวงการของ Cryptocurrencies ที่มักจะออก Whitepaper ในระหว่างการการระดมทุน (ICOs) เพื่อดึงดูดผู้ใช้และ “นักลงทุน” ให้สนใจโครงการของพวกเขา

วัตถุประสงค์ของ Whitepaper
เพื่อเป็นเอกสารทางการขายและการตลาด ที่ใช้ในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างเจ้าของโพรเจกต์กับผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นการดึงดูดและโน้มน้าวให้นักลงทุนตัดสินใจลงทุนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการเชิญชวนให้ผู้ใช้งานสนใจเข้ามาใช้สินค้าหรือบริการของเรา จากการที่ได้อ่านและทำความเข้าใจในเทคโนโลยี กลไกการทำงาน การแก้ไขปัญหาที่ใช้ รวมไปถึงผลประโยชน์ในการลงทุนอีกด้วย

องค์ประกอบของ Whitepaper เเต่ละฉบับจะมีหัวข้อเเตกต่างกันไปเเต่ส่วนใหญ่จะครอบคลุมหัวข้อดังนี้

  1. ชื่อ Whitepaper
  2. แนวคิด
  3. ปัญหาและรายละเอียดของปัญหา
  4. พื้นหลัง
  5. วิธีแก้ปัญหา
  6. บทสรุป
  7. อ้างอิง

ตัวอย่าง Whitepaper

และที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้นั่นก็คือ Whitepaper ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่าง Bitcoin Whitepaper ซึ่งเป็นเอกสารนำเสนอข้อมูลของ Bitcoin ที่ถูกเขียนโดย Satoshi Nakamoto ในปี 2551 ถ้าหากอยากรู้ว่าข้างในเขียนอะไรไว้บ้าง น่าสนใจขนาดไหน ติดตามต่อได้ใน Series : Bitcoin Whitepaper

Reference

ส่วนตรงนี้น่าจะผิดปะครับพี่น้ำตาล มันน่าจะเป็นส่วนที่ควรจะมีใน whitepaper ไม่ใช่ประเภทปะครับ หรือผมเข้าใจผิดไม่แน่ใจครับ

ใน Ref มันเป็นประเภทน้า

A startup, large corporation, or government agency will use white papers differently. There are three main types of white papers, including backgrounders, numbered lists, and problem/solution white papers.

@Namtan

  • จริงๆ ตรงนี้อ่านแล้วก็เข้าใจง่ายดีครับ แต่จริงๆ มันไม่ได้มีแค่นักลงทุนเสมอไปที่สนใจ Whitepaper …ใช้คำว่า “เจ้าของโพรเจกต์กับผู้ที่สนใจ” ดีไหมครับ หรือมีคำอื่นๆ ที่เหมาะสมกว่าก็เสนอได้ ไม่อยากให้เจาะจงจนเกินไป ควรเป็นคำกลางๆ
  • อาจจะไม่ได้ดึงดูดให้มาลงทุนอย่างเดียว อาจจะดึงดูดให้คนมาใช้งานโปรเจคด้วยก็ได้ครับ (คือโปรเจคจะรอดได้นอกจากจะมีเงินลงทุนแล้ว ยังต้องมีผู้ใช้งานด้วยครับ ดังนั้นจุดประสงค์คือดึงดูดนักลงทุนและผู้ใช้งานให้สนใจโปรเจคของเราครับ)
  • คำผิด
  • ตรงนี้ยาวมาก ไม่มั่นใจควรมีไหม เพราะหัวข้อนี้คือ Whitepaper คืออะไร อันนี้อาจจะแยกเป็นอีกหัวข้อดีกว่าไหมครับ ? @anakornk คิดว่าไงครับ

  • อื่นๆ อ่านแล้วโอเคหมดแล้วครับ ถ้าปรับแล้วถือว่าผ่านเลยสำหรับพี่

อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีค่ะ ส่วนตัวคิดว่า para นี้ถ้าไปอยู่ใต้ para1 น่าจะช่วยขยายความได้ดีกว่าอยู่ตรงนี้ค่ะ @Namtan ลองปรับดูค่า

ถ้าปรับตามนี้ก็จะเป็น วัตถุประสงค์จบ → ตัวอย่าง

เนื้อหาค่อนข้างอ่านง่ายและดูไม่น่าเบื่อ ไม่สั้นไปหรือยาวไป