"หลัง The Merge จบลง Ethereum Node กว่า 40% ถูกควบคุมโดย 2 บริษัทเท่านั้น! "

Planning


Outline-text

ชื่อหัวข้อที่จะนำเสนอ

  • "หลัง The Merge จบลง Ethereum Node กว่า 40% ถูกควบคุมโดย 2 บริษัทเท่านั้น!!! "

ประเด็นสำคัญของบทความและสิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับจากบทความ

ประเด็นสำคัญของบทความ

  • การเกิด Centralization ของ Ethereum หลังจาก The Merge

สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับจากบทความ

  • เข้าใจ The Merge ในเบื้องต้นว่าคืออะไร
  • Ethereum เกิดการ Centralization ขึ้น หลังจาก The Merge
  • Pos อาจนำไปสู่การรวมศูนย์ได้จริงหรือไม่ ?

โครงสร้างของเนื้อหา

  • อธิบายเป็นบทความสั้น ๆ แยกเป็น
    • Paragraph 1 : เกริ่นนำถึง The Merge ของ Ethereum blockchain ในวันที่ 15 กันยายน 2022 ที่ผ่านมา และจากการวิเคราะห์ของ Santiment ชี้ให้เห็นว่าหลังจาก The Merge 40 % + ของ Ethereum PoS ถูกควบคุมโดยผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่เพียงแค่ 2 เจ้า
    • Paragraph 2 : อธิบายความหมายของ The Merge ในเบื้องต้นว่าคืออะไร / Pos คืออะไร ข้อดี / เกี่ยวข้องอย่างไรกับ The Merge / ความคิดเห็นของ Vitalik Buterin ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum เกี่ยวกับ PoS
    • Paragraph 3 : ก่อนเหตุการณ์ The Merge staked ETH ถูกคุมโดย 5 เจ้า 64% of staked ETH controlled by 5 entities — Nansen
    • Paragraph 4 : หลังจาก The Merge 40 % จำนวนเปอร์เซ็นที่ถูกแบ่ง… ถูกควบคุมโดย 2 ผู้ให้บริการ ซึ่งก็คือ Lido https://stake.lido.fi/ และ Coinbase https://www.coinbase.com/explore จากการวิเคราะห์ของ Ryan Rasmussen นักวิเคราะห์วิจัย crypto ที่ Bitwise
    • Paragraph 5 : สรุปว่า Pos อาจนำไปสู่การรวมศูนย์ ?

Outline-graphic

รูปแบบของกราฟฟิค + โครงสร้าง

  • รูปแบบ graphic จะทำเป็น 1 รูปแนวตั้ง (ratio 3:2)
  • Theme มีความเป็น infographic หน่อย ๆ และใส่ข้อมูลตามที่ @editors แนะนำคือ
    • โชว์ eth ถูกควบคุมโดย 5 exchange + โชว์
    • โชว์เลขกระเป๋า + กี่ ETH ของ 3 เจ้าหลัก
    • พูดถึง The Merge แก้ไขปัญหาอะไร กี่ %


คำถามที่รบกวนให้ Reviewer ช่วยตอบค่ะ

1. ต้องการรู้ประเด็นไหนเพิ่มเติมไหม เพราะอะไร

2. คิดว่าเรียงลำดับการนำเสนอได้ดีรึยัง ถ้าไม่ดี มีไอเดียอย่างไร

3. มีประเด็นไหนควรตัดทิ้งไหม เพราะอะไร


:memo: Content text + graphic

หลังจากเหตุการณ์ The Merge เมื่อวันที่ 15 เดือนกันยายน ที่ผ่านมาของ Ethereum จากผลการวิเคราะห์ของ Santiment ชี้ให้เห็นว่า Node Pos กว่า 40% ของ Ethereum ถูกควบคุมโดย 2 บริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น ซึ่งจากผลการวิเคราะห์นี้ได้กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มผู้ใช้งานว่าผลกระทบของ The Merge อาจนำไปสู่การรวมศูนย์เครือข่าย (Centralization)

ก่อนจะไปดูข้อมูลอื่น ๆ เรามาทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ The Merge กันคร่าว ๆ ก่อน

The Merge ของ Ethereum คือการเปลี่ยนกลไกฉันทามติจาก Proof-of-Work (PoW) ไปเป็น Proof-of-Stake (PoS) ซึ่งเป็นการควบรวม Ethereum Mainnet เข้ากับ Beacon Chain วัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้พลังงานได้มากขึ้น ซึ่งนอกจากนั้น Vitalik Buterin ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ได้คาดการณ์ไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้การใช้พลังงานลดลงประมาณ 95% เท่านั้น แต่ยังช่วยขยายขนาดเครือข่ายด้วยการประมวลผลธุรกรรมที่คาดว่าจะเทียบเท่ากับการประมวลผลการชำระเงินแบบรวมศูนย์ (Centralization) โดยคุณสมบัตินี้คาดว่าจะใช้ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566

ก่อนเหตุการณ์ The Merge ตามรายงานของแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ Blockchain Nansen ระบุไว้ว่า 64% ของ Ether ที่ถูกนำมาเดิมพัน (Stake) ไว้ทั้งหมด ถูกควบคุมโดย 5 บริษัทได้ แก่ Lido Finance 31% , Unlabelled (ไม่มีป้ายกำกับ) 23% , Coinbase 15% , Kraken 8.5 และ Binance 6.75 % และตามรายงานยังระบุไว้ด้วยว่า Ethereum Node ที่ใช้งานอยู่ประมาณ 4,653 Node ส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยผู้ให้บริการเว็บไซต์แบบรวมศูนย์ (Centralization) อย่างเช่น Amazon Web Services (AWS)

หลังจากเหตุการณ์ The Merge จบลง ตามผลการวิเคราะห์ของ Santiment ชี้ให้เห็นว่า Ethereum Node 46.15 % ถูกควบคุมโดย 2 บริษัทเท่านั้น โดยประมาณ 188 บล็อก หรือ 28.97% ของ Ethereum Node ที่ได้รับการตรวจสอบแล้วอยู่ในการควบคุมบริษัทหนึ่ง และ อีกประมาณ 105 บล็อก หรือ 16.18% อยู่ในการควบคุมของบริษัทอีกแห่ง ซึ่ง Ryan Rasmussen นักวิเคราะห์วิจัย Crypto ที่ Bitwise ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า
“หลังจาก The Merge เสร็จสิ้น บล็อกส่วนใหญ่ประมาณ 40% หรือมากกว่านั้น ถูกสร้างขึ้นใน 2 แห่ง คือ Lido Finance และ Coinbase ซึ่งมันไม่เหมาะสมที่มากกว่า 40% ของบล็อกทั้งหมดจะถูกตัดสินโดยผู้ให้บริการเพียงแค่ 2 รายเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ อย่าง Coinbase”

นอกจากข้อมูลข้างต้นแล้ว การที่ PoS ถูกมองว่าจะนำไปสู่การรวมศูนย์เครือข่าย (Centralization) เนื่องจาก PoS สนับสนุนผู้ที่มีปริมาณ Token สูงมากกว่าผู้ที่มีปริมาณ Token น้อยกว่า ตัวอย่างเช่น กลไกฉันทามติแบบ PoS ใน Ethereum Blockchain จะใช้ผู้ตรวจสอบความถูกต้อง (Validators) ไม่ใช่ผู้ขุด (Miner) ในการยืนยันธุรกรรม โดยหากอยากได้รับการตรวจสอบและรางวัล ผู้เข้าร่วมจะต้องจ่ายเดิมพัน (Stake) เป็นจำนวน 32 ETH ซึ่งเท่ากับประมาณ 42,305.28 ดอลลาร์ (1,572,910.31 บาท) ข้อมูล ณ วันที่ 21 กันยายน 2565

Reference

https://www.instagram.com/p/CinUKJKu6JX

Review text outline

ในส่วนของ Planning อยากให้มีsection ที่เขียนประเด็นของ Topic จะได้คุมเนื้อหา content ได้

ประของtopicนี้คือต้องการจะสื่อสารการ Centralization ของ Ethereum หลัง The Merge
สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับ:

  • เข้าใจอะไรคือ The Merge แบบเบื้องต้น
  • Ethereum Centralized ขึ้น หลัง The Merge
  • Pos นำไปสู่การรวมศูนย์ รึเปล่า ?

อ่านแล้วแปลกๆ ตรง Ethereum PoS
PoS ย่อจาก Proof-of-Stake คือ consensus algorithm
พอใช้กับคำว่ามากกว่า 40% แล้วแปลกๆ มันคือ 40%ของ Node?
กระเป๋าฟังแปลกๆปะ อาจจะใช้ 2 เจ้าอะไรงี้ หรือ 2 บริษัท ถ้าไม่อยากใช้คำว่า address

อยากให้มีคำว่า The Merge คำนี้น่าจะเรียกความสนใจได้
อาจจะตั้งว่า “หลัง The Merge”


1. ต้องการรู้ประเด็นไหนเพิ่มเติมไหม เพราะอะไร

40% ของ Node

  • ยักใหญ่สองเจ้าคือบริษัทไหน Address ไหน ถ้ามีลิ้งไปหาจะได้กดไปดูได้ด้วยว่ามีเงินเท่าไร
  • อยากรู้ว่าETH ทั้งหมดเท่าไร
  • 5 ผู้ให้บริการคือใครบ้าง สัดส่วนเท่าไร มี address ไหม

อ่านแล้วคิดว่าอาจจะเข้าใจผิด เท่าที่เข้าใจคือ ก่อน The Merge, staked ETH ถูกคุมโดย 5 เจ้า ที่ 64% ไม่ใช่ ก่อน The Merge Ethereum Blockchain ถูกคุมโดย 5 เจ้านั้น
ก่อน the merge มันยังเป็น PoS อยู่ หลังจาก the merge 5 เจ้านี้ถึงจะเป็นคนคุม

  • พูดถึง The Merge แต่ไม่ได้พูดถึง The Merge เกี่ยวอะไรกับ PoS
  • พูดถึงลด Energy Consumption และ Scale up network

2. คิดว่าเรียงลำดับการนำเสนอได้ดีรึยัง ถ้าไม่ดี มีไอเดียอย่างไร

  • เกริ่น
  • The merge คืออะไร
  • Before the merge
  • After the merge
  • PoS and Centralization + สรุปจบ

3. มีประเด็นไหนควรตัดทิ้งไหม เพราะอะไร

คิดว่าไม่ควรอยุ่ paragraph ล่าสุด ควรจะอยู่แถว paragraph 2 ตอนอธิบายเกี่ยวกับ The Merge / PoS มันคืออะไร ข้อดีคืออะไร


  • เสนอกราฟฟิกทำเป็น Pie Chart และเขียนว่าโดนควบคุมได้ 5 exchange
  • Show address บทกราฟฟิก อาจจะโชแค่อันหลักๆ ? กี่ ETH ?
  • มีการสื่อถึง ‘The Merge’ , ลด energy consumption กี่เบอเซ็น, network scalability

  • ปรับชื่อบทความ
  • เพิ่มหัวข้อ > ประเด็นสำคัญของบทความและสิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับจากบทความ
  • ปรับ Paragraph + ข้อมูล
  • อ่านหัวข้อแล้วยังแปลกๆ ไม่กระชากใจ ขอปรับเป็นแบบนี้ดีไหมครับ "หลัง The Merge จบลง Ethereum Node กว่า 40% ถูกควบคุมโดย 2 บริษัทเท่านั้น!!! " @anakornk @Namtan
  • ตรงนี้ระวังไปซ้ำซ้อนกับ Paragraph 1 อยากแนะนำว่า Paragraph 1 แค่เกริ่นคร่าวๆ พอว่าเป็นบริษัทใด 2 บริษัทที่ว่า ส่วน Paragraph 3 ค่อยลงรายละเอียดว่า 2 บริษัทที่ว่ากระเป๋า address อะไร และเค้ามีปริมาณ ETH ที่ถืออยู่เท่าไหร่ ถึงรวมกันแล้วได้มากกว่า 40%
  • อันนี้เอามาจากไหน หรือเป็นข้อคิดเห็นจากผู้เขียน ต้องบอกให้ชัดเจนนะครับ ถ้าเป็นข้อคิดเห็นจากผู้เขียน (น้ำตาลเอง หรือ ทีม hashpire)

@Namtan Unlabelled นี่เราไม่รู้ว่าเขาหมายถึงเหรียญอะไรใช่ไหมคะ ที่ปันไปลองหามาก็ไม่เจอเหมือนกัน

พี่ลองหาแล้วก็ไม่เจอเหมือนกัน เลยใส่ไว้ว่าเป็น ไม่มีป้ายกำกับ

References

Lido Finance, 4.2 million ETH
Lido Finance and its Staked ETH (stETH) have far and away been the most popular staking pool. Lido launched the liquid staking token in late 2020, right before the Beacon Chain was created. The liquid nature of the token means that ETH depositors receive stETH and can sell, trade, or lend out the stETH while their ETH remains locked up with Lido.

Coinbase, 2 million ETH
Coinbase has offered Ethereum staking since April of last year. But two weeks ago, the company debuted a liquid staking option: Coinbase Wrapped Staked ETH (cbETH). It behaves similar to the way stETH does and can be used as collateral in decentralized finance lending protocols. As of Friday, cbETH has a market cap of $936 million, according to CoinMarketCap, and is held in 880 unique wallets.

คำถามที่รบกวนให้ Reviewer ช่วยตอบค่ะ

1. ต้องการรู้ประเด็นไหนเพิ่มเติมไหม เพราะอะไร

@Namtan

  • ซ้ำซ้อนรวบคำได้ครับ “เปลี่ยนกลไกฉันทามติจาก Proof-of-Work (PoW) ไปเป็น Proof-of-Stake (PoS)”

  • อื่นๆ อ่านแล้วเข้าใจดีครับไม่ติดอะไร

2. คิดว่าเรียงลำดับการนำเสนอได้ดีรึยัง ถ้าไม่ดี มีไอเดียอย่างไร

-ดีแล้วครับ

3. มีประเด็นไหนควรตัดทิ้งไหม เพราะอะไร

  • ไม่มีครับ

ปล. ชอบภาพ info นะครับ

@anakornk มีอะไรเสริมไหมครับ

@here ในส่วนของ benefits จริงๆ ช่วยในด้าน scalability ด้วยนอกเหนือจาก energy consumption แต่ไม่ทันละ

@anakornk นี่ไงน้องเขียนไว้แล้วนะ

@supanut น่าจะหมายถึงตัว artwork ค่ะพี่บูม