Planning
Outline-text
ชื่อหัวข้อที่จะนำเสนอ
- EP 8 : Simplified Payment Verification (การตรวจสอบธุรกรรม)
โครงสร้างของเนื้อหา
- หัวข้อที่ 1 : เชื่อว่าหลายคนต้องทราบอยู่แล้วว่า การทำธุรกรรมไม่ว่าทำในรูปแบบใดก็ตามจะต้องมีการตรวจสอบธุรกรรมเสมอ เพื่อความยืนยันความถูกต้องและเป็นการแสดงให้เห็นว่าธุรกรรมนั้นเชื่อถือได้จริง ปกติถ้าเป็นระบบแบบเดิม เราจะมีตัวกลางซึ่งก็คือ ธนาคารในการตรวจสอบธุรกรรมให้ แต่ Bitcoin ไม่มีตัวกลาง แล้วจะตรวจได้อย่าง ใน EP นี้ของ Bitcoin Whitepaper จะมาอธิบายให้ทุกคนได้รู้กัน
- หัวข้อที่ 2 : การตรวจสอบธุรกรรมของ Bitcoin ทำอย่างไร
- หัวข้อที่ 3 : การตรวจสอบธุรกรรมจะเชื่อถือได้ถ้า Node ที่ซื่อสัตย์ยังควบคุมระบบส่วนใหญ่อยู่ หากถูกโจมตีจาก Attacker ที่กำลังมากจะมีวิธีที่จะป้องกันอย่างไร
- หัวข้อที่ 4 : พูดถึงการทำธุรกรรมมาจนถึง EP นี้ ที่เป็นวิธีการตรวจสอบธุรกรรม ของ Bitcoin แล้วหลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัยขึ้นมาก็คือ มีการตรวจสอบธุรกรรม แล้วการจัดสรรธุรกรรมล่ะ Bitcoin ทำได้มั้ย แล้วทำอย่างไร หากอยากทราบ ติดตามต่อใน EP 9 : Combining and Splitting Value การรวมและการแบ่งมูลค่า - Experimental / Content Board - Hashpire Community
ประเด็นสำคัญของบทความ
- วิธีการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมของ Bitcoin
- การป้องกันการถูกโจมตีจาก Attacker
สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับจากบทความ
- รู้วิธีการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมที่ Bitcoin ใช้
- วิธีการป้องการถูกโจมตีจาก Attacker ของ Bitcoin
Outline-graphic
รูปแบบของกราฟฟิค + โครงสร้าง
คำถามที่รบกวนให้ Reviewer ช่วยตอบค่ะ
1. ต้องการรู้ประเด็นไหนเพิ่มเติมไหม เพราะอะไร
2. คิดว่าเรียงลำดับการนำเสนอได้ดีรึยัง ถ้าไม่ดี มีไอเดียอย่างไร
3. มีประเด็นไหนควรตัดทิ้งไหม เพราะอะไร
Content text + graphic
คำศัพท์ที่ควรรู้ก่อนอ่านบทความ
Node : ผู้ที่มีส่วนร่วมในเครือข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย Blockchain
Block : สิ่งที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
Markle Tree : การจับคู่ข้อมูล(ธุรกรรม) แล้ว Hash ขึ้นมาเป็นลำดับขั้นที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ลักษณะคล้ายต้นไม้
Root Hash : ส่วนแรกของการเก็บข้อมูลแบบ Markle Tree
Nonce : ตัวเลขสุ่ม
Prev Hash : Hash ของ Block ก่อนหน้า
Full Node : Node ที่มีฟังก์ชันทุกอย่างของระบบครบถ้วน
Block Header : ส่วนหัวของ Block ประกอบด้วย Prev Hash, Nonce, Root Hash
Chain : สายโซ่ที่เชื่อมต่อ Block เข้าหากันในเครือข่าย Blockchain
Timestamp : การบันทึกเวลา (สามารถย้อนกลับไปอ่านได้ที่ EP 3 : การบันทึกเวลา (Timestamp Server))
Attacker : ผู้โจมตีระบบ
Broadcast : การส่งข้อมูลธุรกรรมไปยัง Node อื่น ๆ ในเครือข่ายเพื่อตรวจสอบและส่งข้อมูลต่อไปจนกว่าจะถึง Node มากกว่าครึ่งหนึ่งในเครือข่าย
เชื่อว่าหลายคนคงทราบอยู่แล้วว่า การทำธุรกรรมไม่ว่าทำในรูปแบบใดก็ตามต้องมีการตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องและเป็นการแสดงให้เห็นว่าธุรกรรมนั้นเชื่อถือได้เสมอ หากเป็นระบบแบบเดิม เราจะมีตัวกลางอย่างธนาคารในการตรวจสอบธุรกรรมให้ แต่ Bitcoin ไม่มีตัวกลางแบบดังกล่าว แล้วจะตรวจสอบได้อย่างไร ใน "EP 8 : Simplified Payment Verification " จะมาอธิบายให้ทุกคนได้รู้กัน
การตรวจสอบธุรกรรมของ Bitcoin ทำอย่างไร
การตรวจสอบธุรกรรมสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลทั้งหมดในเครือข่าย ผู้ใช้เพียงแค่เก็บสำเนา Block Header ของ Chain ที่ยาวที่สุดไว้ ซึ่งสามารถหาได้จากการดึงข้อมูลจาก Node ในเครือข่ายจนกว่าจะได้ Chain ที่ยาวที่สุด ซึ่งในแต่ละธุรกรรมจะเชื่อมโยงกับ Block ที่มีการทำ Timestamp ไว้
การตรวจสอบธุรกรรมป้องกันการโจมตีจาก Attacker ได้อย่างไร
โดยปกติ หากยังไม่ได้เชื่อมต่อข้อมูลกับเครือข่าย ผู้ใช้จะไม่สามารถตรวจสอบธุรกรรมของตนเองได้ แต่เมื่อมีการเชื่อมต่อข้อมูล ผู้ใช้สามารถเห็นว่า Node ยอมรับธุรกรรมและสร้าง Block เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถยืนยันได้ว่าธุรกรรมได้รับการยอมรับในเครือข่ายแล้ว
“การตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมจะสามารถเชื่อถือได้หาก Node ที่ซื่อสัตย์ยังเป็นเสียงส่วนใหญ่ที่ตัดสินใจในเครือข่ายอยู่”
แม้ว่า Node ในเครือข่ายสามารถตรวจสอบธุรกรรมได้เอง แต่ Attacker สามารถสร้างธุรกรรมปลอมและ Broadcast ไปยัง Node อื่น ๆ ได้ โดย Attacker ที่มีกำลังประมวลผลของ CPU สูงจะสามารถหลอกระบบได้เป็นเวลานาน
วิธีการป้องกัน คือ หาก Node ตรวจพบ Block ที่ไม่ถูกต้อง จะทำการแจ้งเตือนไปยัง Node อื่น เพื่อให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดข้อมูล Block ทั้งหมด และตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม
สำหรับผู้ที่มีการทำธุรกิจและมีการรับชำระเงินเป็นประจำ อาจจำเป็นต้องใช้ Node ของตนเองในการตรวจสอบแทนการใช้ Node ของผู้อื่น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความรวดเร็วในการตรวจสอบธุรกรรมให้มากขึ้น
เดินทางมาถึงโค้งสุดท้ายกันแล้ว คิดว่าหลายคนคงเห็นภาพรวมการทำงานของ Bitcoin ได้มากขึ้น ทั้งการสร้างธุรกรรม การจัดการกับธุรกรรม ผลตอบแทนที่จะได้รับ ไปจนถึงการตรวจสอบธุรกรรม เหมือนว่าจะครบถ้วนแล้วใช่มั้ยล่ะ แต่!!! มันยังไม่จบเพียงเท่านี้ หากอยากรู้ว่าในตอนหน้าจะเป็นเรื่องอะไร ติดตามต่อได้ใน Series : Bitcoin Whitepaper EP ต่อไป
Reference
- Link here…